กกพ.จ่อเคาะอัตรารับซื้อไฟฟ้าขยะชุมชนภายในไตรมาส 2

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)คาดจะสามารถสรุปผลการศึกษาอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชน เสนอ กบง.เห็นชอบภายในไตรมาส 1- 2 ปี 2565 ด้านเอกชนโอด หากการพิจารณาล่าช้าเช่นนี้ ในขณะที่ต้นทุนพุ่งรายวัน ส่งผลเสียกว้างขวางในด้านต่างๆ มากขึ้น ในขณะที่ กทม.จำเป็นต้องปรับแผนบริหารจัดการขยะใหม่ทั้งระบบ

7 ก.พ. 2565- แหล่งข่าวจาก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) เปิดเผย ถึงความคืบหน้าการพิจารณาอัตราการรับซื้อไฟฟ้าขยะชุมชน หลังจากที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)มีมติ เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2564 มอบหมายให้ กกพ.เป็นผู้พิจารณากำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าขยะชุมชนนั้น ล่าสุด กกพ.อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนอัตรารับซื้อไฟฟ้า FiT ที่เหมาะสมโดยศึกษาทั้งตามข้อเท็จจริงของต้นทุนการผลิตและข้อสัญญาของภาครัฐที่ผูกพันกับเอกชนผู้ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงมหาดไทยแล้ว คาดว่าจะได้ข้อสรุป ประมาณ 1- 2 เดือนข้างหน้านี้ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน เป็นผู้พิจารณาอนุมัติอัตรา FiT สำหรับรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนต่อไป หาก กบง.เห็นชอบอัตรา FiT แล้วทาง กกพ.ก็จะดำเนินกระบวนการออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าขยะชุมชนต่อไป ซึ่งอย่างเร็วน่าจะเกิดขึ้นได้ภายในช่วงปลายไตรมาส 1 หรืออย่างช้า ภายในไตรมาส 2 ปี 2565

อย่างไรก็ตาม การรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบการให้เงินสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง (FiT) สำหรับปี 2565 ในช่วงแรกจะเป็นการเปิดรับซื้อไฟฟ้า เฉพาะโครงการที่อยู่ในลิสต์ของกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น เบื้องต้นมีประมาณ 23 โครงการ กำลังผลิตรวม 237.8 เมกะวัตต์ ซึ่งการรับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะชุมชนรอบนี้ จะเป็นล็อตใหม่ภายใต้โควต้า 400 เมกะวัตต์วัตต์ ที่เพิ่มขึ้นมา จากล็อตแรก 500 เมกะวัตต์ที่จบโครงการไปแล้ว

นายเหอ หนิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดำเนินการโรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อมหนองแขม กล่าวว่า ความล่าช้าที่เกิดจากนโยบายให้มีการทบทวนอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนของกระทรวงพลังงาน นอกจากเป็นการกระทบต่อสิทธิของเอกชนตามสัญญาที่มีการลงนามไปแล้ว ยังทำให้การประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนของกกพ.ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดที่ชัดเจน จึงส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินโครงการของบริษัทในด้านต่างๆ ซึ่งพุ่งสูงขึ้นเป็นรายวัน ในฐานะที่เป็นเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นผู้ดำเนินโครงการ จึงอยากขอความเห็นใจจากกกพ.ให้เร่งพิจารณาอัตรารับซื้อตามมติ กพช.เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้โดยเร่งด่วน หากโครงการผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อมขนาดไม่น้อยกว่า 1,000 ตันต่อวัน ณ ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและหนองแขมแล้วเสร็จจะช่วยกทม.กำจัดขยะได้ถึง 2,500 ตันต่อวัน

ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ระบุว่า ความล่าช้าของโครงการผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อมขนาดไม่น้อยกว่า 1,000 ตันต่อวัน ณ ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและหนองแขม ทำให้ กทม.ต้องมีการปรับแผนจัดการขยะใหม่ โดยจำเป็นต้องเลื่อนแนวทางลดสัดส่วนการฝังกลบจาก80%ให้เหลือ 30% ออกไป และมีภาระการบริหารจัดการแบบผังกลบเพิ่มขึ้น โดยปี 2566 คาดว่าจะมีการของบประมาณเพิ่มเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการขยะทั้งระบบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ธนกร' โว 'พีระพันธุ์' ทำตามสัญญาสำเร็จ ลดค่าไฟฟ้า 4.18 บาทต่อหน่วย

'ธนกร' ชี้ พลังงาน-รัฐบาล ทำตามสัญญาสำเร็จ ลดค่าไฟฟ้า 4.18 บาทต่อหน่วย ทำปชช.และเอกชน ปลื้ม ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง ลุ้น ขยายเวลายาว ถึง ส.ค.67 หวัง อุ้มประชาชนลดต้นทุนการผลิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดีขึ้น

'พีระพันธุ์' แย้มข่าวดี! ตรึงค่าไฟ 3.99 บาท กลุ่มเปราะบาง

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและพลังงาน กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือประชาชนภายหลัง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติปรับขึ้นค่าไฟฟ้างวด ม.ค. -เม.ย. 2567

'พีระพันธุ์' ออกโรงยันค่าไฟฟ้าจะไม่พุ่ง อัดพวกพูดเอาเท่ฟังดูดี 'แก้โครงสร้างๆ'

รมว.พลังงาน ออกโรงยันค่าไฟฟ้าจะไม่แพงตามกกพ. มีมติ ลั่นรับไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทุกวิถีทางไม่ให้ประชาชนแบกรับภาระ อัดพวกพูดเอาเท่ ฟังดูดีทรงภูมิ อะไรๆก็ 'ปรับโครงสร้างๆๆ' โดยไม่รู้ว่าจะแก้อะไร แก้อย่างไรส่งผลกระทบแบบไหน และทดแทนด้วยอะไร