กรณีทุพพลภาพ

07 สิงหาคม 2566

ทุพพลภาพ หมายความว่า

การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกายหรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ 

ประโยชน์ทดแทนที่ท่านจะได้รับ
1.  เงินทดแทนการขาดรายได้

  • กรณีทุพพลภาพรุนแรง ได้รับในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือน ตลอดชีวิต
  • กรณีทุพพลภาพไม่รุนแรง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯกำหนด

2.  ค่าบริการทางการแพทย์ ดังนี้

  • กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ 
  • ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
  • ประเภทผู้ป่วยใน    จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรค (DRGs)
  • กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของเอกชน
  • ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
  • ประเภทผู้ป่วยใน    จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
  • ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพกรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
  • ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ
  • ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพและเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานของสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพตามหลักเกณฑ์ประกาศฯกำหนด

3.  ค่าทำศพ
     1. กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตาย ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
     2. เงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตายผู้มีสิทธิได้รับดังนี้
             -  ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยสองเดือน

             -  ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป  จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยหกเดือน
1.    หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณียื่นคำขอฯเพื่ออนุมัติให้เป็นทุพพลภาพ)
       -  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
       -  ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าเป็นบุคคลทุพพลภาพ
       -  สำเนาเวชระเบียน
       -  สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน มีดังนี้ 

1) พร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน

2) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

3) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)                 

4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)              

5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)              

6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)              

7) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)             

8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย                 

9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) 

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับค่าอวัยวะเทียม/อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคกรณีทุพพลภาพ
        -  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) หรือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีอวัยวะเทียม อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค (สปส. 2-09)
        -  ใบเสร็จรับเงิน
        -  ใบรับรองแพทย์ (ให้แพทย์ระบุประเภทอวัยวะเทียม/อุปกรณ์ฯที่ใช้)
        -  หลักฐานอื่นๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม

หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ (กรณีผู้ทุพพลภาพเป็นผู้ยื่นเรือง)
       -  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01                                                                   -  ใบรับรองแพทย์
       -  ใบเสร็จรับเงิน
       -  หลักฐานอื่นๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม 
 
หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับค่ารถพยาบาล/พาหนะรับส่ง/ (กรณีทุพพลภาพเป็นผู้ยื่นเรื่อง)
      -   แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพกองทุนประกันสังคม สปส. 2-01
      -  ใบรับรองแพทย์
      -  หลักฐานอื่นๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม 
สถานที่ยื่นเรื่อง
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
  
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

  1. ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมหลักฐาน
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐาน นัดตรวจร่างกายผู้ประกันตนเพื่อประเมินการสูญเสียโดยแพทย์ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม และเสนอคณะกรรมการการแพทย์เพื่อพิจารณาอนุมัติ
  3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ประกันตนที่ยื่นคำขอฯ
  4. พิจารณาสั่งจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพรุนแรงเป็นรายเดือนตลอดชีวิต
        กรณีทุพพลภาพไม่รุนแรงจะพิจารณาสั่งจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศกำหนด
        โอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน มีดังนี้  

1) พร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน

2) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

3) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)                 

4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)              

5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)              

6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)              

7) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)             

8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย                 

9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)