Ads Top

SMK Insurance

จอดรถถูกวิธี..ช่วยถนอมเกียร์ออโต้



ปกติในการจอดรถหลายคนมักจะเข้าเกียร์ P ก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นค่อยมาเหยียบหรือว่าดึงเบรกมือแต่การจอดหรือการออกตัวบนทางลาดชันวิธีนี้อาจส่งผลระยะยาวทำเกียร์และยางแท่นเครื่องมีปัญหาได้  การจอดบนทางลาดชันจึงไม่ใช่วิธีการจอดรถแบบปกติ จะมีเทคนิควิธีการจอดบนทางลาดชันอย่างไร มีคำแนะนำดังนี้

1. ควรจอดรถในทางราบปกติ เลี่ยงการจอดบนทางลาดชัน เพราะการจอดบนทางลาดชันจะทำให้เกียร์ P หรือเกียร์จอดทำงานหนัก เนื่องจากเฟืองเกียร์ที่ต้องขบกันเพื่อไม่ให้รถไหลด้วยแรงขนาดเท่าน้ำหนักตัวรถ รวมกับแรงโน้มถ่วงของโลก เกียร์ P จะต้องรับภาระหนักมาก ถ้าไม่มีเบรกมือช่วย เกียร์ตำแหน่ง P คือตำแหน่งสำหรับจอดนิ่ง ถ้ามีแรงดันแรงเข็นรถก็ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เพราะเฟืองข้างในขบกันอยู่

2. วิธีการจอดบนทางลาดชัน

1) ให้จอดรถชิดขอบทาง ฟุตบาท หรือ กำแพง ให้มากที่สุด

2) ควรหมุนพวงมาลัยให้ล้อหน้าเลี้ยวไปทางขอบทาง ฟุตบาท หรือ กำแพง เพราะหากกรณีรถเกิดการเคลื่อนที่ไหลจะได้ถูกเบรกโดยขอบทาง

3)  กรณีจอดรถไม่ชิดขอบทาง ฟุตบาท หรือ  กำแพง ควรหมุนพวงมาลัยให้ล้อหน้าเลี้ยวไปทางด้านตรงข้ามถนนเพราะหากกรณีรถเกิดการเคลื่อนที่ไหลจะได้ไม่กีดขวางการจราจร


4)  จอดรถให้นิ่งสนิทก่อน เหยียบเบรกให้รถไม่ไหลจากนั้นใส่เกียร์ N และดึงเบรกมือขึ้นจนสุด

5)  ค่อยๆ ปล่อยเท้าออกจากแป้นเบรก ดูว่ารถยังไหลถอยได้หรือไม่พร้อมกับหักพวงมาลัยไปทางซ้ายเล็กน้อยให้ล้อหน้าสัมผัสกับฟุตบาทจากนั้นแตะเบรกและดึงเบรกมือให้สุดอีกครั้ง

6) จากนั้นค่อยใส่เกียร์ P ดับเครื่องยนต์



7) อาจหาก้อนหินมารองหลังล้อ เพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้น 



3. วิธีการขับรถออกจากการจอดบนทางลาดชัน

1) . เหยียบเบรก สตาร์ทรถ แล้วเข้าเกียร์ D หรือ R แล้วแต่เราจะไปทางไหน

2) . ปลดเบรกมือก่อน ปล่อยเบรกเท้า แล้วขับรถออก

การทำตามขั้นตอนการจอดนี้ไม่เพียงเฉพาะการจอดบนทางลาดชันเท่านั้น ทางราบจอดปกติก็ควรทำให้เป็นนิสัยด้วยเช่นกัน การใส่เบรกมือเพื่อช่วยลดภาระการทำงานของชิ้นส่วนภายในเกียร์ ไม่ให้ถูกล็อคที่เฟือง จนอาจแน่นเกินไปจนกลายเป็นปัญหาเกียร์ P ค้างได้ และช่วยถนอมเกียร์และยางเเท่นเครื่องภายในรถยนต์ได้อีกด้วย

คุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี ไม่ว่าจะรถชนรถ รถชนของ รถคันอื่นมาชน เกิดอุบัติเหตุนอกเมือง สูญหายไฟไหม้ น้ำท่วม เลือกประกันคนกรุง ประกันชั้น1 เบี้ยเริ่มต้นเพียง 9,600 บาท 
คลิกเลยที่ www.smk.co.th/PreMotor.aspx หรือ โทร. 1596

Photo source: pexels.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.