Article - SolidWorks Simulation, Article Mi, Articles

อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่เราอยู่ เกิดความสบาย (Comfort Zone) จริงไหม

วิเคราะห์สภาวะสบาย ภายในห้องปรับอากาศช่วยให้อุณหภูมิทั่วทั้งห้อง

ใน White Paper ฉบับนี้ จะมาแนะนำวิธีการ วิเคราะห์สภาวะสบาย ภายในห้องปรับอากาศ ความสบายอย่างไร อะไรบ้างที่เป็นปัจจัย และมีผลกระทบบ้าง (สนใจอ่านฉบับเต็ม ลงทะเบียนเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF ฟรี!!! ด้านล่าง)

ประเทศไทยของเรามีฤดูร้อน และร้อนมากทำให้เครื่องปรับอากาศเป็นส่วนจำเป็นของทุกบ้านแล้วในโอกาสนี้จะขอคุยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปรับอากาศเสียหน่อย โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าอุณหภูมิในห้องปรับอากาศยิ่งเย็นยิ่งดีรู้สึกสบาย ซึ่งมันอาจจะเป็นจริงในช่วงแรกที่เราเริ่มเข้ามาในห้องที่มีการปรับอากาศ แต่พออยู่ไปซักระยะหนึ่งก็จะรู้สึกหนาวขึ้นมา หรือบางครั้งอุณหภูมิในห้องนั้นเย็นอยู่แล้ว แต่เรากลับยังรู้สึกไม่สบายตัว

            นอกจากนี้เรามักจะได้ยินคำว่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่อยู่ ควรอยู่ในช่วงของความสบาย (Comfort Zone) โดยอุณหภูมิ คือ 25 องศา และความชื้นสัมพัทธ์ที่ว่า 50% ถึงจะดี บ้างก็แนะนำว่าให้ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไว้ที่ 27 องศา แล้วเปิดพัดลมช่วยเพื่อเป็นการประหยัดค่าไฟ ซึ่งก็ต้องขอบอกว่าช่วยลดค่าไฟได้จริง แต่แท้จริงแล้วมันมีความเกี่ยวข้องกับความสบายอย่างไร อะไรบ้างที่เป็นปัจจัย และมีผลกระทบกับเรื่องของความสบายในห้องปรับอากาศ

เริ่มจากปัจจัยที่มีผลกระทบกับความสบายได้ ซึ่งเราขอแบ่งเป็น 2 ปัจจัยหลักคือ

  1. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม

                        1.1 อุณหภูมิของอากาศที่อยู่รอบตัวเรา

                        1.2 อุณหภูมิการแผ่รังสี ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยู่ใกล้วัตถุที่มีอุณหภูมิสูง เราจะรู้สึกถึงความร้อนที่วัตถุแผ่รังสีออกมา เช่น เครื่องทำความร้อน, เตาหุงต้ม, เตารีด, ไดร์เป่าผม ฯลฯ

                        1.3 ความเร็วลมหรือการเคลื่อนที่ของอากาศพัดผ่านตัวเรา โดยลมที่พัดผ่านจะนำเอาความร้อน และความชื้นออกไปในขณะที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมถึงให้เปิดพัดลมช่วยในห้องปรับอากาศ

                        1.4 ความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าอากาศชื้นมากน้อยแค่ไหน โดยเป็นอัตราส่วนของไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ ต่อ ปริมาณของไอน้ำที่ทำให้อากาศอิ่มตัว (เทียบที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน)

  1. ปัจจัยจากตัวคนที่อยู่ในห้องปรับอากาศ

                        2.1 เครื่องนุ่งห่มที่สวมใส่ การสวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่มากเกินไปก็จะรู้สึกร้อนไม่สบายตัว กลับกันในกรณีที่สวมใส่เครื่องนุ่งห่มน้อยเกินไป หรือความเป็นฉนวนของเครื่องนุ่งห่มที่เราสวมใส่ไม่เพียงพออาจทำให้อุณหภูมิร่างกายของเราต่ำกว่าปกติจนเกิดเจ็บป่วยไม่สบายได้

                        2.2 กิจกรรมที่ทำ/อัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย กิจกรรมที่ทำ เช่น เดิน, นั่ง, นอน, ทำความสะอาดบ้าน, รีดผ้า หรือแม้แต่การหายใจ ล้วนแล้วแต่กระตุ้นการเผาผลาญพลังงานของร่างกายและเกิดความร้อนออกมา ซึ่งอัตราการเผาผลาญที่ว่านี้จะไม่เท่ากันในแต่ละบุคคล

ข้อมูลทั้งหมดมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด คำถามที่เกิดขึ้นเรามีคำตอบใน White Paper ฉบับนี้  (สนใจอ่านฉบับเต็ม ลงทะเบียนเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF ฟรี!!! ด้านล่าง)

ข้อมูลเพิ่มเติม SOLIDWORKS Flow Simulation 




Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ