ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
20 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
สุลต่านสุไลมาน




สุลต่านสุไลมาน หรือ สุลัยมาน  อดีตเจ้าเมืองสงขลา
เป็นบุตรของ ดะโต๊ะ โมกอล
นักการศาสนาและพ่อค้าชาวอาหรับ ที่แรกเริ่มมาปักหลักค้าขาย
อยู่ในชวาภาคกลางที่ เมืองสาเลห์ (Saleh) ประเทศอินโดนีเซีย
บนฝั่งแม่น้ำปรากา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๑๔๘
ฝรั่งนักล่าเมืองขึ้นได้เข้าโจมตีทางทะเลด้วยกำลังคน และอาวุธที่เหนือกว่า
จนต้องย้ายครอบครัวและสมัครพรรคพวกร่นถอยหนีมาประเทศไทย

อาหรับที่มาค้าขายในแถบอาเซียนนี้
จะมีสองกลุ่มหลักคือ นิกายสุหนี่ จะมีมากแถวอาเจะห์ มลายู
กับนิกายชีอะห์ จะมีมากในกรุงศรีอยุธยา เช่น ต้นสกุล บุนนาค

(พ.ศ.๒๐๔๑ นักเดินเรือชนชาติโปรตุเกส วาสโค ดา กามา
ได้ค้นพบเส้นทางเดินเรือผ่านแหลมโชคดี (Cape of Good Hope)
เข้าสู่อินเดีย ทวีปเอเชีย และหมู่เกาะต่างๆ ย่านทะเลใต้ได้)

ผลของการทำสงครามกับฝรั่งล่าเมืองขึ้น
ถูกโจมตีด้วยเรือไฟ ป์นไฟ และระเิบิดเพลิง จนเมืองเผาไหม้
และจะเข้าสู้รบระยะปะชิดไม่ได้เลย
ดาโต๊ะ โมกอล จึงต้องอพยพครอบครัวและบริวารลงเรือสำเภา
หนีภัยสงครามที่พ่ายแพ้กับฝรั่งนักล่าเมืองขึ้น
ฝ่าคลื่นลมเป็นเวลาหลายวัน เข้ามาสู่อ่าวไทย
ด้วยการแล่นเรือเรียบชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย
เล็งเห็นว่าปากน้ำทะเลสาบใกล้เมืองสทิงปุระ (จะทิ้งพระ)  ที่บางช่วงจะเป็น
เมืองขึ้นกับพัทลุง บางช่วงจะอยู่กับนครศรีธรรมราช
แถวทะเลน้อยเป็นทะเลสาบน้ำจืด+กร่อย
มีภูเขาบังคลื่มลมได้ดีจึงแวะเข้าพักขึ้นในบริเวณนี้
และทำการสำรวจโดยรอบแล้วเห็นว่าเป็นทำเลที่ดี
จึงได้ยกพลขึ้นบก ณ ที่หัวเขาแดง เมือง สิงขรานคร Singora หรือ สงขลา
ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ.๒๑๔๘-๒๑๕๓)

หมายเหตุ 

ที่ตั้งสงขลา ด้านหน้าติดทะเล
ด้านหลังติดทะเลสาบน้ำจืด (ทะเลน้อย)
ด้านหลังเป็นป่าเขาลำเนาไพร มีป่าไม้และสัตว์ป่า
มีคลองอู่ตะเภาไหลจากเหนือลงใต้
สามารถเดินทางไปที่ไทรบุรี
หรือต่อทะลุออกไปที่ฝั่งทะเลอันดามัน
มีปูมเรือสมัยก่อน
เพราะเรือสมัยนั้นขนาดเล็กและแม่น้ำลำคลองยังสมบูรณ์
รวมทั้งมีคลองซอยจำนวนมาก
สามารถเป็นช่องทางหลบลี้หนีภัยได้
หากมีการสู้รบแล้วไม่ได้รับชัยขนะ

จากการที่เคยปกครองเมืองสาเลห์ ในชวามาก่อนแล้ว
จึงไม่เป็นการยากในการสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นที่บริเวณชายหาด
และลึกเข้าไปในพื้นที่  เพื่อพัฒนาเป็นเมืองท่า และสร้างความมั่นคง
ด้วยการสร้างป้อมบนเขาและรอบตัวเมืองขึ้นอย่างแข็งแรง
กอปรกับคนพื้นเมืองเดิมก็อยู่กันน้อยมาก
และไม่ค่อยมีความสามารถในการสู้รบแต่อย่างใด
ทำให้สามารถครอบครองและปกครองเมืองนี้ได้

มีการว่าจ้างชาวต่างชาติ วิลันดา มาเป็นทหารรับจ้าง
กับเป็นวิศวกรสร้างป้อมปราการเมืองสงขลา
แต่บางตำนานว่าเป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศส
ดังจะมี สุสานวิลันดา ในบริเวณสุสาน/มรหุ่มสุลต่านสุไลมาน
จำความจากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรม จำปีและเล่มไม่ได้

ทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่า ปลอดภัย จึงเข้ามาค้าขาย
ยังความเจริญมาสู่สิงขรานคร ค.ศ.๑๖๒๒ (ตรงกับ พ.ศ.๒๑๖๕ )
ในรัชสมัย พระเจ้าทรงธรรม ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ท่านดาโต๊ะ โมกอล ดำรงตำแหน่งเป็น
ข้าหลวงใหญ่ของกรุงสยามนับแต่นั้นมา
เพราะส่วนกลางไม่มีอำนาจปกครองอย่างแท้จริงอย่างหนึ่ง
เป็นเพียงแต่ให้ส่งเครื่องราชบรรณาการ
เป็นพิธีกรรมว่าไม่ต่อต้าน ไม่ขัดขืน ในบางเรื่องบางราวเท่านั้น

ในช่วงนั้นทำไม สทิงปุระ ไม่มาทำการรบด้วยหรือทำลายเมืองนี้
ต้องทราบว่าตามประวัติศาสตร์ เมืองจะทิ้งพระ หรือบริเวณวัดพะโค๊ะ
มักจะถูกโจรต่างชาติส่วนมากมาจากชวา ปล้นบ้านชิงเมืองหลายครั้ง
จนกระทั่งอ่อนแอ ไม่สามารถทำอะไรได้แล้ว
เพราะปล้นครั้งไร ก็เผาบ้าน เผาเมือง คุมพลเมืองกลับบ้านเมืองไป

ชาวบ้านแถบคาบสมุทรสทิงพระ
บางครอบครัวจะเล่าว่า ฝ่ายทวด สายตา สายยาย สายปู่ สายย่า
บางคนเป็นแขกชาวประมงมาจากชวา
มาตั้งรกรากหากินจับปลาแถวนี้
แล้วได้ภริยาเป็นคนในพื้นที่แถบนี้
ต่อมาชั้นลูกหลานก็กลายศาสนาไปนับถือศาสนาพุทธแทน
แต่ลูกหลานบางคนก็ยังนับถือศาสนาอิสลาม
โดยยังรับรู้ว่ามีบรรพบุรุษร่วมกันเป็นคนชวา

ขณะเดียวกัน นครศรีธรรมราช ก็ไม่สนใจพื้นที่นี้มากนัก
เพราะห่างไกล เดินทางด้วยเรือลำบาก
ไม่คุ้มกับการรบหรือมาครอบครอง
เพราะทรัพยากรน้อย ปลูกข้าวได้น้อยส่วนหนึ่ง
ป่าไม้ก็ตัดลำบาก เสือก็มาก โรคภัยก็มาก
ในประมาณปี พ.ศ. 2145 สมเด็จพระเอกาทศรถทรงโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นข้าหลวงผู้สำเร็จราชการนครสงขลา ดูแลหัวเมืองตอนใต้
กับแถวมลายู  ที่ไม่เกี่ยวกับนครศรีธรรมราช
นัยว่า มีกองกำลังและความสามารถในการสู้รบได้ระดับหนึ่ง
ดะโต๊ะ โมกอล (โมกุล) ดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี พ.ศ. 2163  จึงถึงแก่อสัญกรรม

สุลต่าน สุลัยมานจึงขึ้นครองนครสงขลาแทนบิดาในปี พ.ศ. 2163
ในฐานะผู้สำเร็จราชการนครสงขลา ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม
ต่อมาในปีพ.ศ. 2173 เจ้าพระยากลาโหมศรีสุริยวงศ์
ปราบดาภิเษกเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง
ด้วยการประหารชีวิต พระเจ้าอาทิตยวงศ์ กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
ซึ่งเป็นหลานชายของตนเอง แล้วชิงบรรลังค์ขึ้นครองราชย์
ตั้งพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง" (ครองราชย์ พ.ศ. 2173-2199)

สุลต่านสุลัยมาน มีความเห็นว่า
มิใช่ประเพณีการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมนเฑียรบาล
จึงประกาศแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา
และได้ประกาศเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2173
ขณะเดียวกันก็พัฒนาป้อมปราการเมืองสงขลา
ตามหนังสือเก่าระบุว่ามีทั้งหมด 16 ป้อม
เคยอ่านเจอในหนังสือศิลปวัฒนธรรม (จำเล่ม จำปี ไม่ได้แล้ว)

น่าจะสันนิษฐานได้ว่า ทางกรุงศรีอยุธยาก็ไม่พร้อมจะมารบด้วย
ดังจะเห็นได้จากการตั้งให้พ่อค้าญี่ปุ่น ที่มาเป็นทหารรับจ้างคือ
ออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ) มารับจ้างปราบเมืองนครศรีธรรมราช
ด้วยการฆ่าฟันล้างฆ่าอย่างทารุณ
ตามคำเล่าขานของคนเก่าคนแก่ว่า
ภายหลังจากที่ยามาดะถูกยาพิษของเมืองหลวงตาย
ชาวบ้านได้ร่วมมือกันรัฐประหารขับไล่กองโจรญี่ปุ่นออกไป
แม้ว่าภายหลังลูกชายยามาดะ
จะกลับมาสู้รบเพื่อเป็นเจ้าเมืองอีกก็ไม่สำเร็จ
ถูกขับไล่จนหนีหายไปจากเมืองนครศรีธรรมราชตลอดกาล
แต่ประวัติศาสตร์ไทยฉบับหลวงไม่ค่อยบันทึกไว้
ดังจะเห็นได้จากตำนานบทเ่ห่กล่อมลูกหลานของเมืองนครว่า

" ไก่อูกเหอ ไก่อูกหางลุ่น
ข้าหลวงญี่ปุ่น ทำวุ่นจับเด็ก
จับเอาแต่สาวสาว บ่าวบ่าวไปทำมหาดเล็ก
ญี่ปุ่นจับเด็ก วุ่นทั้งเมืองนครเอย ”


ข้อสังเกตุ ยามาดะ จะไปรบที่ปัตตานี
ไม่เข้ามารบที่สงขลาในยุคนั้นเลย
หรืออาจจะมารบ แต่ไม่สามารถสู้กับสุลต่านสุไลมาน
แสดงว่า อำนาจกรุงศรีอยุธยาอ่อนแอมาก
ต้องใช้โจรต่างชาิติมาเป็นทหารรับจ้าง
แล้วเขียนประวัติศาสตร์ว่ารับใช้หลวง
เมื่อทำอะไรเมืองสงขลาไม่ได้
จึงต้องไปรบที่เมืองปัตตานีแทน

link นี้คือเรื่องเกี่ยวกับป้อมปราการเมืองสงขลา  ป้อมหนึ่งที่สมบูรณ์พอสมควร

//goo.gl/l4iaMU

ต่อมาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ในปี พ.ศ. 2223
โปรดเกล้าฯให้พระยารามเดโช(ชู) เป็นแม่ทัพยกทัพหลวง
ไปร่วมกับทัพหัวเมืองภาคใต้
มีกองอาสาสมัคร(ทหารรับจ้าง)โปรตุเกสและดัชท์
ร่วมด้วยยกไปปราบนครสงขลาจนเสียเมืองในเวลาต่อมา

กองอาสาสมัคร คือ ทหารรับจ้าง
ในสมัยอยุธยา ภายในราชวงศ์กันเองจะมีการทรยศหักหลังกันมาก
มีการโค่นอำนาจรัฐประหารกันตลอด
เรียกว่าสีร้อยกว่าปีมีกษัตริย์สีสิบกว่าองค์
อายุสั้นทั้งนั้น หาอายุยืนได้น้อยมาก
การกลัวว่าจะถูกโค้นล้มอำนาจ
จึงไม่สามารถไว้วางใจข้าราชการไทยดัวยกัน
จึงมีการจ้างทหารรับจ้าง แขกยักษ์มาร์กาซา (มักกะสัน)
จีน ญี่ปุ่น โปรตุเกส ฝรั่งเศส ดัชท์
มาดูแลรักษาวัง และน่าจะทำอะไรที่
สร้างความเคียดแค้นชิงชังให้กับคนไทยมาก

ดังเช่น เพลงกล่อมเด็ก เจ้าการะเกศ

เจ้าการะเกศ เอย
เจ้าขี่ม้าเทศ จะไปท้ายวัง
ชักกริศออกมาแกว่ง ว่าจะแทงฝรั่ง
เมียห้ามเจ้าก็ไม่ฟัง เจ้าการะเกศ เอย
เออ เอิง เอิ้ง เอ่ย
เออ เิอิง เอิ้ง เอ่ย
เออ เอิ้ง เอิ้ง เอ๋ย


ส่วนประวัติของสุลต่านสุไลมาน ได้รวมรวมสาระพอสังเขป
สามารถไป download  ได้ตาม link นี้

//goo.gl/eWXZz

(ภาพจินตนาการว่าเป็นภาพสุลต่านสุลัยมาน
แต่บางท่านว่า สมัยนั้นไม่น่าจะแต่งกายเช่นนี้ ภาพจาก internet)



สำหรับการเขียนต่อไปจะเป็นการนำเที่ยวชม

สุสานสุลต่านสุไลมาน
แต่ชาวบ้านจะเีรียกกันว่า มรหุ่ม สุลต่านสุไลมาน
คือ เรียกให้เป็นเกียรติแทนคำว่า กูโบร์ (ที่ฝังศพชาวมุสลิมทั่วไป)
คนในพื้นที่จะเรียกท่านด้วยความเคารพว่า ทวดหุม หรือ ทวดหุ่ม

มรหุ่ม มรโหม  สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า อัล-มาร์ฮุม ในภาษาอารบิก
เป็นคำยกย่องผู้ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว หรือผู้ที่ "ไปสู่พระกรุณาของพระผู้เป็นเจ้า"

(Credit คุณนิลกังขา แห่งเรือนไทย)

คำว่า ทวด ในภาษาภาคใต้มีนัยนอกเหนือจาก พ่อของปู่
คือ คนที่ให้ความเคารพอย่างสูงสุด
เพราะเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์หรือมีคุณงามความดีมาก
เช่น หลวงพ่อทวดวัดช้างไห้ ทวดหัวเขาแดง ทวดเขาเขียว
บางครั้งก็หมายถึงสัตว์ที่มีอายุมาก หนังเหนียว ยิงไม่เข้า
หรือมีขนาดใหญ่มาก เป็นที่น่ากลัวน่าเกรงขามมาก เช่น
ทวดช้าง ทวดงูเห่า ทวดงูจงอาง ทวดฟาน ทวดหมูป่า เป็นต้น

ภาพภายนอกสุสานของท่าน



ด้านภายในตรงที่ฝังศพทวดหุม




ถามเพื่อนมุสลิมจะบอกว่า
การฝังศพของชาวมุสลิมในเขตเมืองไทย
ด้านศีรษะวางตรงไปทางทิศเหนือ
ส่วนเท้าจะวางตรงไปทางทิศใต้
ผินหน้าำไปทางทิศตะวันตก (เมืองเมกะห์)
หรือบางท่านว่าจะวางตรงก็ได้



อีกด้าน



ลักษณะโครงหลังคาของมรหุ่ม



อีกภาพ



สังเกตภาพข้างบน
จะมีการฝังศพรอบ ๆ มรหุ่มท่าน
ดูที่เป็นเสาปูน
ปัจจุบันก็มีการฝังศพอยู่บางส่วน



ภาพป้ายจารึก



ภาพประวัติ



ภาพป้ายสุสาน




ส่วนอีกแห่งคือ สุสานบุตรชายคนเล็กของสุลต่านสุไลมาน
พระยาราชบังสัน (ฮัสซัน) อดีตแม่ทัพเรื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา

(ภาพเต็มจาก Internet) จะเป็นมรหุ่มขนาดย่อมลงมา



อีกภาพหนึ่ง



ภาพหลุมศพท่านฮัสซัน



ป้ายหลุมศพท่านฮัสซัน(บังสัน)



ส่วนภาพนี้ถามชาวบ้านแถวนี้
สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นทหารเอกของท่านสุลต่านสุไลมาน
เพราะมีลักษณะหลุมแปลกกว่าหลุมอื่น ๆ



ส่วนรอบ ๆ เป็นสุสานปัจจุบันและเก่าของที่นี่





อีกภาพ




ภาพป้อมปราการเมืองสงขลา สมัยสุลต่านสุไลมาน



อิหร่าน หรือ เปอร์เซีย
อีรัค ปากีสถาน อัฟกานิสถาน
ส่วนมากจะนับถือนิกายฃีอะห์ มากกว่านิกายสุหนี่
ชีคอาหมัด (เฉกอาหมัด) ต้นสกุลบุนนาค  
ที่เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกของสยาม คือ นิกายชีอะห์
ส่วนคนน้อง ชีคสะอิด (เฉกสะอีด) ได้กลับบ้านเมืองกูม
เป็นเมืองศาสนาแห่งหนึ่งของอิหร่าน
จำได้ว่ามีสารคดีของไทยไปสืบค้นสถานที่เกิดของท่านทั้งสอง
แต่ฃาวบ้านแถวนั้นจำไม่ได้แล้วว่าเคยมีหรือไม่



ส่วนแผนที่ข้างบนนี้
จะเห็นว่าทางทะเลจากนครศรีธรรมราชตัดตรงไปปัตตานีี
จะสะดวกรวดเร็วกว่าแวะที่เมืองสงขลา

ตามคำบอกเล่าคนสงขลาเล่าสืบต่อ ๆ กันมาว่า
สงขลาเคยทำสงครามชนะทัพหลวง
น่าจะสมัยสุลต่านสุลัยมาน
ที่รบกับออกญาเสนาภิมุข ทหารรับจ้างญีปุ่น
ที่เข้ามากินเมืองนครศรีธรรมราช
แล้วปู้ยี่ปู้ยำทำร้ายทำลายกับชาวเมืองจำนวนมาก
บางส่วนก็หนีไปอยู่ตามป่าตามเขา
สร้างบ้านแปลงเมืองโดยอาศัยตนเอง
ไม่เคยเล่าว่า เทวดาฟ้าสวรรค์มาสร้างเมืองให้
หรือบางส่วนหนีจากการเป็นไพร่ของเมืองหลวง
จะเห็นได้จากประวัิติศาสตร์ชุมชน บ้านคีรีวงศ์ เป็นต้น

แต่ถ้าอ่านประวัติศาสตร์ไทยแบบหนังสืองานศพ
มักจะได้ข้อเท็จจริงบิดเบือนจากประวัติศาสตร์ฉบับไพร่หรือชาวบ้าน
เพราะจริง ๆ แล้วสมัยยุคแรกก่อนรัชกาลที่ 5
ยังเรียกหัวเมืองปักษ์ใต้ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธุ์ลงมาว่า คนนอก
และมีประวัติศาสตร์บอกเล่าเขียนว่า  คนพวกนี้หัวแข็ง ปกครองยาก

ยังมีการเรียกภาคเหนือว่า ลาวเฉียง เรียกชาวเชียงใหม่
ภาคอิสานว่า ลาวแกว หรือ เขมร
ส่วนเหนือกว่านั้นก็ ฮ่อ หรือ ไทใหญ่ ตะวันออก ก็ พวกมอญ กระเหรี่ยง
คำว่าไทย มาเริ่มหลังปลายรัชกาลที่ 5 กับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ที่พยายามสร้างความรักชาติขึ้นมาแทนการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์คนไทยแต่เดิม

เมืองสงขลาหลังสิ้นบุญสุลต่านสุไลมาน
พ่ายแพ้ตกเป็นเมืองขึ้นกรุงศรีฯ ในชั้นรุ่นลูกของท่าน
จนถูกทำลายเมืองย่อยยับ ป้อมปราการหลายแห่งก็ถูกทำลายไป
ไม่ต่างกับเมืองปัตตานี ที่หากำแพงเมืองและป้อมปราการไม่ได้เลย
หลังจากการปราบกบฎปัตตานีสมัยรัชกาลที่ 1
เคยไปทำงานที่ปัตตานีหลายเดือน
ถามชาวบ้านก็บอกไม่รู้ จำไม่ได้ว่าเคยมีหรือไม่

ผลการแพ้สงครามกับอยุธยาครานั้น
ทัพหลวงครานั้นได้อพยพจับกุมลูกหลานท่าน
บางคนไปอยู่เมืองหลวงกับไชยา
ทำให้บ้านแตกสาแหรกขาด
หมดสิ้นความเป็นเมืองท่าค้าขาย
ทำให้ต่อมาต้นสกุล ณ สงขลา
มาปกครองเป็นเจ้าเมืองได้
เพราะอำนาจอิทธิพลของสกุลสุไลมานลดลงไปมากแล้ว



ส่วนภาพล่างนี้น่าจะเป็นเมือง saleh ที่ดะโต๊ะ โมกุล (โมกอล) อพยพมา
แต่ไม่แน่ใจมากนัก แต่ถ้าดูจากภูมิศาสตร์ทางทะเล
จะเห็นว่าตั้งอยุ่ในปากแม่น้ำ กำบังลมมรสุมได้ดี
ขยายภาพเมือง saleh  ใกล้ตรงจุด A




ส่วนเรื่อง สงขลา ตามที่คุณ Navarat C เคยเขียนไว้
และมี comment เก่าของผมในครั้งก่อนส่วนหนึ่ง

//goo.gl/ywJtrf

ขอเสริมข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไปของ
ลูกหลานของท่านสุลต่างสุไลมาน
หลังสงขลาถูกกองทัพกรุงศรีอยุูธยาตีแตกครับ
Credit ประดู่ป่า

หลังเสียเมืองสงขลา ลูกหลานของท่านสุลต่าน
ถูกกวาดต้อนไปอยู่หลายที่
มีบางส่วนถูกนำไปอยู่ที่เมืองไชยา
ตั้งเป็นถิ่นฐานเรียกว่า "บ้านสงขลา" ยังมีอยู่ถึงปัจจุบัน
และเชื้อสายของท่านสุลต่านก็ได้รับความไว้วางใจจาก
กรุงศรีอยุธยาให้ดำรงตำแหน่ง "พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม"
เจ้าเมืองไชยา สืบต่อมา

ในบันทึกของพระยาวิชิตภักดี (ขำ ศรียาภัย)
เจ้าเมืองไชยาสมัยรัชกาลที่ 5
ซึ่งตรวจสอบรายนามเจ้าเมืองไชยาแต่โบราณนำขึ้นถวาย
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นั้น ระบุว่า
เจ้าเมืองคนแรก (ที่สอบสวนได้)
ชื่อว่า "มรหุมปะแก" (น่าจะเป็นชื่อที่ที่ชาวบ้านเรียก)
ตั้งเมืองอยู่ที่บ้านสงขลา
เจ้าเมืองคนต่อมาชาวบ้านเรียกว่า "มรหุมตาไฟ"
และคนที่สาม คือ "มรหุมมุดา"

ในสมัยมรหุมมุดานี้เองที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า
และกองทัพพม่าได้เดินทัพ
มาตีถึงเมืองชุมพรและไชยาด้วย
ชาวเมืองไชยาต้านทัพพม่าไว้ไม่ได้
พม่าได้เมืองไชยาและจับบุตรชายของเจ้าเมือง ชื่อนายรุก ไปด้วย
ส่วนมรหุมมุดานั้นอพยพพาครอบครัวหนีไปได้
ทางเมืองสงขลาว่ากลับไปอยู่หัวเขาแดง
และได้สร้างมัสยิดไว้ที่นั่นแห่งหนึ่ง
ยังอยู่ถึงปัจจุบัน

ส่วนบุตรอีกคนหนึ่งของมรหุมมุดา
ชื่อนายบุญชู เกิดจากภรรยาที่เป็นไทยพุทธ
ได้เข้าร่วมกับทัพเมืองนครศรีฯ เข้าชิงเมืองไชยาคืนได้
นายบุญชูจึงได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดเมืองไชยา
อยู่ภายใต้อำนาจของก๊กเจ้าพระยานคร
ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินยกทัพไปตีก๊กเจ้านครศรีธรรมราช
นายบุญชูก็จับเจ้าเมืองฆ่าเสียและเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสิน
จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาวิชิตภักดีเจ้าเมืองไชยาต่อมา
จนกระทั่งผลัดแผ่นดิน พระยาวิชิตภักดี (บุญชู)
ซึ่งถูกเพ่งเล็งว่าเป็นคนของพระเจ้ากรุงธนบุรี
จึงถูกเรียกตัวเข้ากรุงเทพฯ แต่ท่านปฏิเสธที่จะรับราชการต่อไป
จึงถูกลงโทษประหารชีวิต และริบราชบาตรจนสิ้นเชิง
เป็นอันหมดเชื้อสายของสุลต่านสุไลมานที่ปกครองเมืองไชยาแต่เท่านี้

ปัจจุบันที่บ้านสงขลา ก็ยังคงปรากฏสุสานของเจ้าเมืองไชยามรหุมปะแก
และมรหุมมุดา อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมและรกร้าง
ขาดการให้ความรู้และเอาใจใส่ของทางราชการที่เกี่ยวข้อง
แตกต่างจากที่สิงหนครที่ยังคงได้รับการบำรุงรักษาอยู่ถึงปัจจุบันครับ



Create Date : 20 กรกฎาคม 2555
Last Update : 14 เมษายน 2559 14:40:11 น. 15 comments
Counter : 9379 Pageviews.

 
เพราะไม่ตรงไปตรงมา
อาจมีการบิดเบือน
คนรุ่นหลังเช่นเรา
ทำได้แค่เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 20 กรกฎาคม 2555 เวลา:22:47:36 น.  

 
สวัสดีค่ะ


แวะมาบอกกล่าว "ฝันดีค่ะ" ^^


โดย: ploythana วันที่: 20 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:15:47 น.  

 
Free Orkut and MySpace Graphics Glitters scraps

ขอบคุณสำหรับอินทผาลัมสดนะคะคุณ ravio
ต๋าเคยทานแต่แบบแห้ง อร่อย ชอบค่ะ
........

อ่านเอนทรี่วันนี้ได้ความรู้และศัพท์ใหม่ๆ อย่างคำว่า "มรหุ่ม" น่ะค่ะ
ทุกภาพล้วนแปลกตา ถ้าคุณ ravio ไม่นำมาแบ่งปัน
ต๋าคงไม่มีโอกาสได้ชมค่ะ ขอบคุณนะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 21 กรกฎาคม 2555 เวลา:9:59:11 น.  

 
เข้ามาอ่านเพิ่มเติมค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 22 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:43:22 น.  

 
ว้าว...เป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่หน้าสนใจมากเลยนะคะเนี๊ยะ ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันเพิ่มรอยหยักในสมองค่ะ

คืนนี้ฝันดีนะ


โดย: คมไผ่ วันที่: 23 กรกฎาคม 2555 เวลา:0:25:27 น.  

 
แวะมาราตรีสวัสดิ์ค่ะ
ฝันดีคืนนี้นะคะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 23 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:50:00 น.  

 
ขอบคุณค่ะ เป็นลูกหลานท่านสุลต่านเหมือนกันค่ะ คุณย่านามสกุล ณ พัทลุง


โดย: Nefer Titi IP: 58.9.76.7 วันที่: 9 ตุลาคม 2555 เวลา:20:39:15 น.  

 
รู้สึกเหมือนได้อ่านใหม่ค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 ตุลาคม 2555 เวลา:15:12:29 น.  

 
นึกออกละว่ารูปสุลต่านเคยเห็นที่บ้านเจ้าเมืองพัทลุง เป็นรูปสี
แล้วจะส่งใ้ห้ค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 ตุลาคม 2555 เวลา:15:15:59 น.  

 
จู่ ๆ ภาพกลายเป็นภาพสายลับ
(ผลจากการ link จากกระทู้เดิม
ที่ตอนนี้เก็บเข้าคลังกระทู้แล้ว)
เลยต้อง upload ใหม่


โดย: ravio วันที่: 12 ตุลาคม 2555 เวลา:19:16:37 น.  

 
ดร. วิชิตวงค์ณป้อมเพชรท่านรู้ประวัตความเป็นมาดีมากท่านเคยเล่าให้ฟัง.พระยาชัยวิชิตต้นตระกูลณป้อมเพชรก็สืบเชื้อสายมาทางนี้ค่ะ


โดย: Penthip IP: 110.171.87.46 วันที่: 18 กรกฎาคม 2557 เวลา:7:49:49 น.  

 
น่าสนใจคะ !! อยากถามว่า หลวงสวัสดิ์ ราชบังสัน/ช้าง เป็นใครคะ
ขอบคุณ


โดย: คชสวัสดิ์ IP: 188.165.201.164 วันที่: 21 ตุลาคม 2559 เวลา:0:27:19 น.  

 
ผมอยากได้บันทึกหลักฐานอ้างอิงที่เกี่ยวกับนายบุญชู ที่ร่วมทำศึกกับพระเจ้าตากสิน และได้เป็นพระยาวิชิตภักดี(บุญชู) ครับใครมีติดต่อผม 0998987775


โดย: ธนกร พรหมวิเศษ IP: 223.24.94.129 วันที่: 11 สิงหาคม 2560 เวลา:2:16:47 น.  

 
ผมอยากได้บันทึกหลักฐานอ้างอิงที่เกี่ยวกับนายบุญชู ที่ร่วมทำศึกกับพระเจ้าตากสิน และได้เป็นพระยาวิชิตภักดี(บุญชู) ครับใครมีติดต่อผม 0998987775


โดย: ธนกร พรหมวิเศษ IP: 223.24.94.129 วันที่: 11 สิงหาคม 2560 เวลา:2:16:57 น.  

 
ผมอยากได้บันทึกหลักฐานอ้างอิงที่เกี่ยวกับนายบุญชู ที่ร่วมทำศึกกับพระเจ้าตากสิน และได้เป็นพระยาวิชิตภักดี(บุญชู) ครับใครมีติดต่อผม 0998987775


โดย: ธนกร พรหมวิเศษ IP: 223.24.94.129 วันที่: 11 สิงหาคม 2560 เวลา:2:17:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.