Academia.eduAcademia.edu
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ปราบเงี้ยว พ.ศ.2445: กึ่งอาณานิคม การใช้กำลังทางทหาร และความเป็นชาย1 ปรีดี หงษ์สต้น* บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันก่อตัวขึ้นในราวทศวรรษที่ 2430 และ สิ้นสุดที่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.2475 โดยการศึกษาที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า ระบอบได้ดำเนินนโยบายทางการเมืองและเศรษฐกิจหลายประการเพื่อมุ่งรวบอำนาจการปกครองเข้าสู่ ศูนย์กลาง ภายใต้การนำของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยต้องการร่วมต่อขยายองค์ความรู้ของการศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาดังกล่าว บทความ วิจัยนี้มุ่งหมายแสดงมิติทางด้านวัฒนธรรมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สองประการโดยผ่านศึกษา เหตุการณ์การขบถเงี้ยวเมืองแพร่ในปีพ.ศ.2445 ประการแรก บทความนี้เสนอว่าหากจะเข้าใจการสร้าง และธำรงอำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีความจำเป็นต้องวิเคราะห์วัฒนธรรมการใช้อำนาจ ด้วย กล่าวคือ ระบอบใช้ทั้ง “พระเดช” โดยปราบปรามด้วยกำลังทางกายภาพและทั้ง “พระคุณ” ในการ มุ่งจัดการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐในอีกด้านหนึ่งไปพร้อมๆกัน ประการที่สอง บทความนี้ใช้กรอบเพศ ภาวะในการวิเคราะห์การเดินทัพไปปราบเงี้ยวจากส่วนกลาง และพบว่ามุมมองกองทัพกรุงเทพฯต่อบริเวณ ไทยเหนือนั้นเป็นการกล่อมเกลา “อุดมการณ์ความเป็นชาย” (ideology of masculinities) ของตนและ การทำให้ภูมิภาคไทยเหนือนั้น “กลายเป็นหญิง” ไปในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อำนาจความเป็นชายจึงเป็น วัฒนธรรมสำคัญหนึ่งของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คำสำคัญ: สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กึ่งอาณานิคม ขบถเงี้ยว เพศภาวะ Abstract This research article studies Thai absolute monarchy, which began in the 1880s and ended in the 1932 Revolution. Previous studies in economic and political dimensions have shown that, the absolute monarchy undertook major projects to centralise power under Bangkok’s rule under the lead of King Chulalongkorn. 1 บทความวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่กำลังดำเนินการในโครงการ “ถกเถียงเรื่องคุณค่า 2: ความหลากหลายทาง วัฒนธรรม” ภายใต้ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระยะเวลาดำเนิน การ เมษายน 2558-กันยายน 2559 ขอขอบคุณกองบรรณาธิการวารสารประวัติศาสตร์ มศว. และผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง สองท่านสำหรับข้อวิจารณ์และความเห็นต่อการปรับแก้บทความ * อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ปราบเงี้ยวพ.ศ.2445: กึ่งอาณานิคม การใช้กำลังทางทหาร และความเป็นชาย ปรีดี หงษ์สต้น Intended to extend the body of knowledge about Thai absolute monarchy, this research article emphasizes on two cultural dimensions of the regime through the suppression of the Shan Rebellion in 1902. Firstly, the study shows that we have to take into account both the “coercive” (phra det) and the “benevolent” (phra khun) dimensions to understand how Thai absolute monarchy exercised its power. While Bangkok was establishing the administrative structure, it also employed violent means to any resistances towards its rule. Secondly, this study adopts a gender studies framework to show that the Thai army’s perspective towards the North reinforced the “ideology of masculinity”. That is, the Thai army was masculine, while the North feminine. Thus, masculinity was one among the cultures of Thai absolute monarchy. Keywords: Thai absolute monarchy, Semicolonialism, Shan Rebellion, Gender บทนำ ประวัติศาสตร์สยามในพุทธทศวรรษที่ 2430 ถึง 2440 ที่ผ่านมามักจะได้รับการเน้นย้ำใน ฐานะยุคแห่งการปฏิรูปครั้งใหญ่ เป็นยุคที่รัฐไทยสมัยใหม่ก่อร่างสร้างรูปขึ้น โดยมีพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ตรงใจกลางและราชวงศ์จักรีนำสยามเข้าสู่ความเจริญโดยรอดพ้นจากการ เป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดินิยมตะวันตก1 โดยละเลยข้อเท็จจริงที่ว่าการพิจารณาสยามในพุทธทศวรรษที่ 2430 ถึง 2440 จำเป็นที่จะต้องเทียบเคียงไปกับรัฐอื่นๆที่ร่วมสมัยกัน นั่นคือแม้กรุงเทพฯจะได้รับแรง กดดันจากเจ้าอาณานิคมตะวันตกแต่ตนเองก็กระทำการจัดการปกครองและจัดระเบียบด้วยความรุนแรง เช่นเดียวกับที่เจ้าอาณานิคมตะวันตกกระทำผ่านการใช้กองกำลังในเมืองขึ้นของตน2 ในการศึกษาประวัติศาสตร์สยามในช่วงเวลาดังกล่าว มีสองประเด็นหลักที่ถูกมองข้ามบ่อยครั้ง ซึ่งจะเป็นสองข้อเสนอหลักของบทความวิจัยนี้ ประเด็นที่หนึ่งคือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นถูกเน้น ย้ำในฐานะความพยายามในการบูรณาการประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการสร้างสยามให้เจริญ ทัดเทียมนานาประเทศ อันเป็นบุญคุณของชนชั้นนำสยามผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตา ซึ่งเป็นการมอง ปรากฏการณ์นี้เพียงด้านเดียวเท่านั้น สมบูรณาญาสิทธิราชย์รวมทั้งรัฐไทยสมัยใหม่นั้น มิได้ก่อร่างสร้าง 1 2 สำหรับรายชื่อของงานส่วนหนึ่งที่อธิบายประวัติศาสตร์ไปในแนวทางเช่นนี้ โปรดดู ณัฐพล ใจจริง. (2552). การเมือง ไทยสมัยรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา พ.ศ.2491-2500). หน้า 4. เชิงอรรถที่ 5. วิไลเลขา ถาวรธนสาร. (2545). ชนชั้นนำไทยกับการรับวัฒนธรรมตะวันตก. หรืองานที่ได้รับการเผยแพร่ไม่นาน นัก เช่น Udomporn Teeraviriyakul. (2014) Bangkok Modern: The Transformation of Bangkok with Singapore and Batavia as Models (1861-1897). หรือ เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2557, มกราคม-มิถุนายน). รัฐสยามกับ ล้านนา พ.ศ.2417-2476. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6 (11): 63-77. งานเหล่านี้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของรัฐสยามในฐานะเข้าสู่สมัยใหม่ด้วยการเน้นบทบาทของราชวงศ์จักรีที่ พัฒนาประเทศให้ทันสมัย ในปัจจุบันจะสามารถเห็นแง่มุมเช่นนี้เป็นปกติในงานวิชาการฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตย อาทิ นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554, เมษายน-มิถุนายน). มรดกของใคร?. ฟ้าเดียวกัน. 9(2): 59-66. แต่ควรตระหนักว่าข้อวิพากษ์เรื่องสมบูรณาญา สิทธิราชย์ดังกล่าวมีต้นขั้วมาจากทฤษฎีกึ่งเมืองขึ้น-กึ่งศักดินาของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ซึ่งเน้น บทบาทการกดขี่ของนายทุนด้วย โดยงานชิ้นสำคัญคือ อรัญญ์ พรหมชมพู (อุดม สีสุวรรณ). (2493). ไทยกึ่งเมืองขึ้น. 153 154 วารสารประวัติศาสตร์ 2559 JOURNAL OF HISTORY 2016 ขึ้นจาก “พระคุณ” เพียงลำพัง เพราะอีกด้านหนึ่งนั้นคือ “พระเดช” ด้วย1 ไม่ว่าจะเป็นการสังหารหมู่ การประหารชีวิต การจับกุมคุมขังและการคุกคามทางเพศ ดังที่เจ้าจักรวรรดิอื่นๆก็กระทำต่อบริเวณใต้ อาณานิคมเช่นกัน2 ดังนัน้ หากเราจะเข้าใจประวัตศิ าสตร์ของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เรามองข้ามอีกด้านนีม้ ไิ ด้ ประเด็นที่สองคือความสัมพันธ์ระหว่างกรอบเพศภาวะ (gender) กับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดย หากพิจารณาในกรอบนี้แล้ว การขยายอำนาจของสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นคือการสถาปนาความเป็นชาย ของตน และในเวลาเดียวกันทำให้บริเวณอื่นกลายเป็นหญิงทั้งในทางกายภาพและในทางอุปมา เมื่อใช้ กรอบการศึกษาเพศภาวะเข้าไปอธิบายวัฒนธรรมของสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้ว จะเห็นว่าเรื่องเพศภาวะ อยู่ตรงใจกลางของการสถาปนาอำนาจจากส่วนกลาง สยามในพุทธทศวรรษที่ 2430 ถึง 2440 เป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะพลังสองกระแสที่ มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นพลวัตและส่งผลกระทบถาโถมต่อสยาม กระแสแรกเป็นพลังของระบบทุนนิยม โลกที่มีจักรวรรดิอังกฤษเป็นศูนย์กลาง ระบบนี้กดดันให้รัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียง ใต้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเพื่อสอดรับเข้ากับความต้องการของระบบทุนนิยมโลกนี้ อีกกระแสหนึ่งคือแรง ต่อต้านอย่างกว้างขวางทั่วภูมิกายาของสยาม ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นวิภาษวิธีต่อการปกครองแบบเทศาภิบาลที่ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิธีการดำเนินการวิจัย บทความนี้ใช้กรณีขบถเงี้ยวพ.ศ.2445 วิเคราะห์ประวัติศาสตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยจะใช้ บันทึกสำคัญสองชิ้นคือ 1) ประชุมพงศาวดาร เรื่องปราบเงี้ยว (2513) และ 2) นิราศเมืองหลวงพระ บางและรายงานปราบเงี้ยว (2548) เป็นหลักในการร้อยเรียงข้อเสนอ สยามกับอำนาจกึ่งอาณานิคม บทความวิ จั ย เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการเห็ น ตามแนวทางว่ า สยามเข้ า สู่ ส มั ยใหม่ ด้ ว ยลั ก ษณะสองด้ า น (duality) โดยมีลักษณะกึ่งอาณานิคม (semicolonialism)3 เพื่อตั้งคำถามต่อมายาคติที่ว่าไทยไม่เคยเป็น เมืองขึ้นของใคร จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่เป็นเมืองขึ้นได้4 เพื่อแตกยอดไปสู่การอธิบาย 1 2 3 4 ปรีดี หงษ์สต้น. (2557-2558, ตุลาคม-มีนาคม). เชือดไก่ให้ลิงดู: รัฐไทยกับการทำลายศัตรูด้วยนาฏกรรม. วารสาร ประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์. 1(2): 53-99. Martin Thomas. (2012). Violence and Colonial Order: Police, Workers, and Protest in the European Colonial Empires, 1918-1940. คำนี้ ใ ช้ แ ทนคำจำนวนมากที่ ถู กใช้ อ ธิ บ ายประวั ติ ศ าสตร์ ข องสยามในช่ ว งพุ ท ธทศวรรษที่ 2430 ถึ ง 2440 เช่ น อาณานิคมภายใน (internal colonialism) อัตตณานิคม (autocolonialism) อาณานิคมอำพราง (crypto-colonialism) อาณานิคมโดยอ้อม (indirect colonialism) ความเป็นสมัยใหม่แบบอาณานิคม (colonial modernity) และ ความเป็น สมัยใหม่ทางเลือก (alternative modernity) เป็นต้น โดยผู้วิจัยเลือกใช้กึ่งอาณานิคม (semicolonialism) ด้วยไม่ ต้องการจะให้การถกเถียงในประเด็นนี้กลายเป็นเรื่องการเล่นคำเพียงอย่างเดียว และเห็นว่าคำนี้ยังธำรงความหมายของ การวิพากษ์วิจารณ์ทั้งชนชั้นนำและทุนนิยมอยู่ โดยเห็นตาม ปีเตอร์ เอ. แจ็คสัน. (2556, มกราคม-เมษายน). ความ คลุมเครือของอำนาจกึ่งอาณานิคมในประเทศไทย. แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น. รัฐศาสตร์สาร. 34(1): 1-40. ธงชัย วินิจจะกูล. (2544, มกราคม). ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยม: จากยุคอาณานิคมอำพรางสู่ราชา ชาตินิยมใหม่หรือลัทธิเสด็จพ่อของกระฎุมพีไทยในปัจจุบัน. ศิลปวัฒนธรรม 23(1) :56–65. ประเด็นสำคัญคือ การ เขียนประวัติศาสตร์เช่นนี้ได้รับการหนุนเสริมโดยนักวิชาการไทยศึกษาชาวอเมริกันด้วยเป็นอย่างมากยุคจักรวรรดิ อเมริกัน โปรดดู ณัฐพล ใจจริง. (2552). เล่มเดิม. หน้า 5-8. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ปราบเงี้ยวพ.ศ.2445: กึ่งอาณานิคม การใช้กำลังทางทหาร และความเป็นชาย ปรีดี หงษ์สต้น วัฒนธรรมของสมบูรณาญาสิทธิราชย์เปรียบเทียบกับรัฐอาณานิคมในช่วงเวลาที่ร่วมสมัยกัน1 ประเด็นที่ สำคัญคือ กรอบกึ่งอาณานิคมจะไม่ละทิ้งการอธิบายการทำงานของระบบทุนนิยมโลก โดยจะเห็นงาน ศึกษาในแนวทางเช่นนี้อาทิ The Political Economy of Siam, 1851-1910 (1981)2 รวมทั้งงานอัน สำคัญ The Rise and Decline of Thai Absolutism (2014) ซึ่งชี้ชวนให้มองออกไปในภาพกว้างของ การขยายตัวทุนนิยมโลกในยุคที่มีจักรวรรดิอังกฤษเป็นศูนย์กลาง (Pax Britannica) เพื่อแสดงให้เห็นการ กำเนิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ (absolutist state) อันเป็นผลพวงของการที่สยามเข้าไปสู่ระบบทุนนิยมโลกนี้ ทำให้มีความจำเป็นที่ระบอบจะต้องสร้างระบบราชการขึ้นมา ส่งผลให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมาคือกระฎุมพี ข้าราชการ (bureaucratic bourgeoisie) งานชิ้นนี้เสนออย่างเป็นวิภาษวิธีว่า ในขณะที่กำลังก่อร่างสร้าง ระบบราชการ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็เพาะเชื้อแห่งความเสื่อมของตนเองตั้งแต่ต้นแล้ว และกรณี แรกที่เป็นสัญญาณความเสื่อมลงคือขบถร.ศ.1303 กึง่ อาณานิคมในอีกด้านคือการเน้นแง่มมุ ของความเป็นอาณานิคมภายใน (Internal Colonialism) ของกรุงเทพฯต่อบริเวณอื่นๆ4 Chaiyan Rajchagool ได้ชี้ให้เห็นผ่านตัวแบบทุนนิยมศูนย์กลาง-ชายขอบว่า ภายใต้ระบบทุนนิยมโลก เกิดกระบวนการที่กรุงเทพฯขยายอำนาจไปขูดรีดทรัพยากรของภูมิภาคต่างๆ5 โดยแง่มุมของการศึกษาการใช้อำนาจของส่วนกลางนั้น งานวิจัยสาขาประวัติศาสตร์ในช่วงสองถึงสาม ทศวรรษที่ผ่านมาได้ชี้ให้เห็นอย่างต่อเนื่องแล้ว6 บทความนี้มุ่งหมายที่จะเน้นย้ำว่าคือการอภิปรายเรื่องกึ่ง 1 2 3 4 5 6 โปรดดู Benedict Anderson. (1998). Spectre of Comparisons: Nationalism, South-East Asia and the World. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554, เมษายน-มิถุนายน). เล่มเดิม. หน้า 59-66. Chatthip Nartsupha; Suthy Prasartset. (1981). The Political Economy of Siam, 1851-1910. Kullada Kesboonchoo Mead. (2004). The Rise and Decline of Thai Absolutism. โปรดดู สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). อาณานิคมภายในกับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวแบบเพื่อศึกษาความ สัมพันธ์ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของอีสานกับรัฐบาลกลางของประเทศไทย. ใน หมู่บ้านอีสานยุค “สงครามเย็น” สังคมวิทยาของหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. หน้า 152-170. ในบทความนี้เขาได้รับอิทธิพลมาก จากงานเขียนของ V. I. Lenin Chaiyan Rajagool. (1994). op. cit.. อาทิ Matthew Phillip Copeland. (1993). Contested Nationalism and the 1932 Overthrow of the Absolute Monarchy in Siam. Chaiyan Rajchagool. (1994). The Rise and Fall of the Thai Absolute Monarchy: Foundations of the Modern Thai State from Feudalism to Peripheral Capitalism. Thongchai Winichakul. ( 2000). The Quest for “Siwilai”: A Geographical Discourse of Civilizational Thinking in the Late Nineteenth and Early Twentieth-Century Siam. The Journal of Asian Studies. 59(3): 528-549. Thongchai Winichakul. (2000). The Others Within: Travel and Ethno-Spatial Differentiation of Siamese Subjects 1885-1910. In Civility and Savagery: Social Identity in Tai States. pp.38-62. Patrick Jory. (2000, September). Books and the Nation: The Making of Thailand’s National Library. Journal of Southeast Asian Studies. 31(2): 351373. Michael Herzfeld. (2002). The Absence: Discourses of Crypto-Colonialism. The South Atlantic Quarterly. 101(4): 899-926. Lysa Hong. (2003). Extraterritoriality in Bangkok in the reign of King Chulalongkorn, 1868-1910: The Cacophonies of Semi-Colonial Cosmopolitanism. Itinerario. 2(2):125146. Tamara Loos. (2006). Subject Siam: Family, Law, and Colonial Modernity in Thailand. Thanapol Limapichart. (2008). The Prescription of Good Books: The Formation of the Discourse and Cultural Authority of Literature in Modern Thailand (1860s-1950s). Thanapol Limapichart. (2009). The Emergence of the Siamese Public Sphere: Colonial Modernity, Print Culture and the Practice of Criticism (1860s1910s). South East Asia Research. 17(3): 361-399. Tamara Loos. (2010). Competitive Colonialism: Siam and the Malay Muslim South. In The Ambiguous Allure of the West: Traces of the Colonial in Thailand. pp.75-91. เป็นต้น 155 156 วารสารประวัติศาสตร์ 2559 JOURNAL OF HISTORY 2016 อาณานิคมนั้นจะต้องมองทั้งสองทาง คือบทบาทของระบบทุนนิยมโลกที่ส่งผลต่อภูมิภาคในด้านหนึ่ง และ การใช้อำนาจของกรุงเทพฯต่อบริเวณอื่นๆซึ่งเป็นหน่วยทางการเมืองซึ่งเล็กกว่าด้วย นั่นคือสยามเป็นทั้ง เมืองกึ่งอาณานิคมต่อมหาอำนาจตะวันตก และเป็นจักรวรรดิต่อบริเวณอื่นๆในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ยุค ของการบูรณาการประเทศ ยุคแห่งการปฏิรูปใหญ่ ยุคเทศาภิบาล1 ฯลฯ ก็ควรจะต้องถูกอภิปรายใน ลักษณะกึ่งอาณานิคมเช่นนี้ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ปราบเงี้ยว: พระเดชและพระคุณ การสถาปนาอำนาจของจักรวรรดินิยมนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการจัดระเบียบ และจะต้องใช้ ความรุนแรงในการธำรงอำนาจและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตน2 ในกรณีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ช่วงทศวรรษที่ 2440 นั้น มีการใช้กองกำลังอย่างกว้างขวางต่อการลุกฮือต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯ ไม่ ว่าจะเป็นจากทางภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน ยกตัวอย่างเช่น ต่อขบถพระยาแขกเจ็ดหัวเมือง ประเทศราชในปี 2444 กรุงเทพฯใช้ “มาตรการที่เข้มแข็งเฉียบขาด” ในการปราบปรามพระยาแขก และ ทำการจัดระเบียบเพื่อให้พนักงานศุลกากรจากส่วนกลางเข้าทำการเก็บภาษีได้3 และในทางภาคอีสาน ต่อ การปราบขบถผู้มีบุญในปี 2445 นั้น กองกำลังที่กำกับจากกรุงเทพฯติดอาวุธปืนใหญ่และปืนไรเฟิล สังหารผู้ที่ลุกฮือร่วมในขบถผีบุญมากกว่าสามร้อยคน ซึ่งเป็นเหตุการณ์เดียวจากอีกหลายๆเหตุการณ์ปะทะ ในการปราบการลุกฮือครั้งนั้น4 เหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้มีรายละเอียดมาก ผู้วิจัยจำต้องจำกัดการอภิปราย ไว้เพียงบางกรณีเท่านั้นเนื่องด้วยพื้นที่อันจำกัด บทความนี้ใช้กรณีการปราบเงี้ยวเมืองแพร่ ซึ่งเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ระบอบ สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ แ สดง “พระเดช” อย่ า งไรต่ อ แรงต้ า น 5 เหตุ ก ารณ์ เ กิ ด ขึ้ นในเช้ า วั น ที่ 25 กรกฎาคม 2445 โดยผู้นำเงี้ยวนาม “พกาหม่อง” และ “ชะล่าโปชาย” นำกองกำลังประมาณ 30 ถึง 40 คนเข้าโจมตีสถานที่ราชการของกรุงเทพฯในเมืองแพร่ การโจมตีเริ่มที่กองตำรวจภูธรก่อน จากนั้น ขยายต่อไปที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อทำการตัดสายโทรเลข แล้วเคลื่อนกองกำลังไปโจมตีที่จวน ข้าหลวงและบุกต่อไปที่ศาลากลางเมืองแพร่ ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า “เค้าสนามหลวง” ระหว่างนี้เองเงี้ยวอีก 300 คนที่ เ ป็ น ชาวเมื อ งแพร่ ก็ ห ยิ บ อาวุ ธ เข้ า ร่ ว มสนั บ สนุ น กองกำลั ง ของพกาหม่ อ ง ร่ ว มจั บ เอาตั ว ข้าราชการที่ทำงานให้กับกรุงเทพฯไปสังหาร เช่นพระยาไชยบูรณ์ พระยาราชฤทธานนท์ (ทองอยู่ สุวรรณ บาตร) หลวงวิมน ขุนพิพิธ และคนอื่นๆรวมแล้วกว่า 20 คน6 การลุกฮือกลางปี 2445 ครั้งนั้นได้รับการบันทึกว่าเป็น “ขบถ” อันไม่สลักสำคัญเท่าใดนัก ดัง เช่นที่รัชกาลที่ 5 เองมีพระราชดำริว่า “เป็นแต่เสมอกองโจร”7 เล็กๆที่โจรกรรมเงินของราชการเพื่อนำ 1 2 3 4 5 6 7 งานศึกษาระบบเทศาภิบาลที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของยังคงเป็น Tej Bunnag. (1977). The Provincial Administration of Siam, 1892-1915: The Ministry of Interior under Prince Damrong Rajanubhab. Martin Thomas. (2012). op. cit. แสดงให้เห็นนโยบายการจัดระเบียบเมืองใต้อาณานิคมในคาริบเบียน แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. หรือในกรอบเชิงทฤษฎี Frantz Fanon. (1963). The Wretched of the Earth. pp.1-62. เตช บุนนาค. (2524). ขบถ ร.ศ.121. หน้า 62-64. John B. Murdoch. (1974). The 1901-1902 ‘Holy Man’s’ Rebellion. Journal of Siam Society. 62(1): 59. เตช บุนนาค. (2524). เล่มเดิม. หน้า 31-55. แหล่งเดิม. หน้า 31-32. ประชุมพงศาวดารเล่ม 48 ปราบเงี้ยว ตอนที่ 2. (2513). หน้า 210. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ปราบเงี้ยวพ.ศ.2445: กึ่งอาณานิคม การใช้กำลังทางทหาร และความเป็นชาย ปรีดี หงษ์สต้น เอาไปใช้หนี้1 หากมองจากทางส่วนกลางแล้ว เหตุการณ์ทั้งหมดนั้นคือการลุกฮือช่วงระยะสั้นๆเป็นเวลา สามสัปดาห์ ระหว่างปลายกรกฎาคมถึงสิงหาคม จนกระทั่งถูกปราบจนราบคาบอย่างรวดเร็วสองสัปดาห์ ก่อนหน้าที่กองทัพใหญ่จากกรุงเทพฯซึ่งนำโดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) จะมาถึงในวันที่ 20 สิงหาคม และตั้งคณะกรรมการขึ้นไต่สวนเหตุการณ์2 เมือ่ ได้รบั ทราบว่าเกิดการเข้าโจมตีสถานทีข่ องราชการไทย นโยบายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือการระดมกำลังเข้าปราบปรามให้ได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงที่สุด โดยเกณฑ์กำลังพลจากหลายทางอาทิ จากมณฑลนครสวรรค์และพิษณุโลกแบ่งเป็นสี่กอง หนึ่งยกทัพจากพิชัยนำโดยพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์) ผู้ว่าราชการเมืองพิชัย หนึ่งยกทัพไปจากสวรรคโลกและสุโขทัย หนึ่งจากนครไทยและอีก หนึ่งยกทัพจากเมืองตาก3 โดยกองกำลังจากมณฑลเหล่านี้รวมเข้าทั้งหมดมีจำนวนกว่าพันนาย ส่วนจาก ทิศเหนือของที่เกิดเหตุ มีการเกณฑ์กำลังจากเชียงใหม่นำโดยพระเสนาราช และกำลังลำพูนรวมกว่าพัน นายอี ก ด้ ว ย 4 ดั ง นั้ น หากจะนั บ รวมกั น แล้ ว ก่ อ นหน้ า ที่ เ จ้ า พระยาสรุ ศั ก ดิ์ ม นตรี จ ะยกทั พใหญ่ ไ ปจาก กรุงเทพฯ ก็มีการระดมกองกำลังเพื่อเข้าปราบปรามแล้วกว่าสองพันนาย เนื่องด้วยหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์ คงจะทำการคะเนได้ยากว่า ในช่วงเวลาสามสัปดาห์ มีผู้ที่ตาย และบาดเจ็บจากการลุกฮือครั้งนั้นเป็นจำนวนเท่าใด แต่ระดับความเข้มข้นของการปราบปรามพอจะแสดง ให้เห็นได้ว่า ขบถเงี้ยวคงจะไม่ใช่การจับโจรกลุ่มเล็กๆ แต่เป็นการที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้กอง กำลังต่อต้านด้วยกำลังและอาวุธที่มีมากกว่า ด้วยมาตรการว่า “ถ้าเงี้ยวต่อสู้ [ขัดขืนกับกองทัพไทย] ให้ เผาบ้านเรือนและจับเอาตัวมาให้หมดทั้งครอบครัว”5 เมื่อกองทัพจากกรุงเทพฯยกไปถึงเมืองแพร่ในปลายเดือนสิงหาคม 2445 แม้ขบถเงี้ยวอ่อนกำลัง ลงอย่างมากแล้ว มาตรการความเด็ดขาดก็มิได้เบาบางลงแต่อย่างใด เพราะยังมีเงี้ยวที่หนีเข้าไปในป่าอีก มาก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) จึงใช้ยุทธศาสตร์ ให้ทหารไทยเปลี่ยนเครื่องแต่งกายให้เป็น เหมือนเงี้ยวแล้วกระจายกำลังออกตามจับพวกที่แข็งข้อโดยประกาศนโยบายชัดเจนว่า “ถ้า [เงี้ยว] ดึงดัน ขันข้อจะต่อต้าน [การจับกุม] จงประหารให้ยับดับสังขาร์”6 ในกรณีหนึ่งเมื่อทหารไทยจับผู้ต้องสงสัย ก่อการขบถได้สองคน หลังจากที่สอบสวนแล้วไม่สามารถพูดจาสื่อสารให้เข้าใจภาษาเดียวกันได้ จึงสังหาร ผู้ต้องสงสัยนั้นทันทีเพื่อมุ่งหมายสร้างความเกรงขามและเข็ดขยาด7 อีกกรณีหนึ่งคือ ทหารไทยที่ร่วมทัพไป 1 2 3 4 5 6 7 “หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศกุล ได้ทรงไว้ในหนังสือ แพร่-น่าน ว่า ‘ส่วนต้นเหตุของเรื่อง [ขบถเงี้ยว] นี้ ข้าพเจ้าเคย ได้ยินจากเสด็จพ่อว่า เรื่องเดิมนั้น พกาหม่องเป็นลูกหนี้เจ้านางแว่นทิพย์น้องพระเจ้าเชียงตุงอยู่ 4,000 บาท ไม่มีจะใช้ ก็หนีมาอาศัยพวกพ้องอยู่ในเมืองแพร่ วันหนึ่งเห็นเขาขนเงินส่วยเข้าไปที่ศาลากลาง ก็นึกขึ้นว่า ถ้าได้เงินนี้ไปใช้หนี้ ก็จะ กลับไปบ้านได้แล้ว พกาหม่องก็รวบรวมพวกพ้องยกเข้าปล้นตามที่เล่ามานี้ เผอิญทำได้โดยสะดวก จึงเลยคิดการใหญ่ขึ้น จนเลยกลายเป็นขบถไป” โปรดดู ประชุมพงศาวดารเล่ม 48 ปราบเงี้ยว ตอนที่ 2. (2513). หน้า 171. เตช บุนนาค. (2524). เล่มเดิม. หน้า 32. สำหรับมูลเหตุของการลุกฮือนั้น ผู้วิจัยมีความจำเป็นที่จะยังไม่เข้าสู่การ อภิปรายแม้ตระหนักว่าสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเนื้อที่อันจำกัดและด้วยเป็นประเด็นที่ไม่ได้มุ่งเน้นในบทความนี้ เตช บุนนาค. (2524). เล่มเดิม. หน้า 33. ประชุมพงศาวดารเล่ม 48 ปราบเงี้ยว ตอนที่ 2. (2513). หน้า 213. แหล่งเดิม. หน้า 234. หลวงทวยหาญรักษา (เพิ่ม). (2548). นิราศเมืองหลวงพระบางและรายงานปราบเงี้ยว. หน้า 274. แหล่งเดิม. หน้า 280. “จึงฆ่าทิ้งเสียให้สิ้นมลทินที/ทำกาลีเบียดเบียนเป็นเสี้ยนหนาม/ให้สิ้นโทษโสตสุขทุกนิคาม/ให้ มันขามเข็ดจิตที่คิดปอง”. 157 158 วารสารประวัติศาสตร์ 2559 JOURNAL OF HISTORY 2016 พร้อมกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี นำพรรคพวกทหาร 4 คน จับเงี้ยว 14 คนไปซ้อมโดยพลการ1 จะพอเห็นได้ว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้กองกำลังในการปราบปรามแรงต่อต้าน แต่ใน ขณะเดียวกัน การปราบเงี้ยวในปี 2445 คงเป็นเพียงการสำแดงพระเดชของกองกำลังจากรัฐที่ใหญ่กว่าต่อ บริเวณที่อำนาจน้อยกว่าเท่านั้นหากประกอบไปด้วยการใช้กำลังบังคับขู่เข็ญเพียงอย่างเดียว การยกทัพขึ้น ไปแพร่ของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ในครั้งนี้หาได้มีเพียงจุดมุ่งหมายในการไปปราบขบถ เท่านั้น แต่กิจกรรมทั้งหมดนั้นเป็นกระบวนการหนึ่งในการก่อร่างสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ด้วยอย่าง แนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน เป็น “พระคุณ” ด้วยการบูรณาการสยามให้มีความเจริญทัดเทียมกับประเทศ อื่นๆ ผู้ที่ร่วมกองทัพของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงไม่ได้มีแต่ทหารเท่านั้น แต่ยังมีข้าราชการจากหลาย กระทรวงที่ได้รับมอบหมายและแต่งตั้งให้เดินทางไปด้วย อาทิเช่น ข้าราชการจากกระทรวงมหาดไทยทำ หน้าที่เกณฑ์ชายฉกรรจ์ภาคเหนือเพื่อเข้าเป็นพลทหารใหม่แล้วและจัดทำเรื่องทะเบียนราษฎร์ และเขตการ ปกครอง2 จัดหาแพทย์ที่ช่วยทำการรักษาผู้ป่วย เกณฑ์คนสร้างวัดเพื่อเป็นการจัดศึกษาเด็กผู้ชายที่จะต้อง บวชเรียนและได้รับการศึกษาตามทิศทางของส่วนกลาง3 ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม ทำการตั้งศาล ยุติธรรมพิพากษา (กรณีที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขบถ) ทำการเก็บภาษี จัดระเบียบเรื่องการคลัง เก็บภาษี ที่คั่งค้างจ่าย4 ทั้งยังมีข้าราชการกระทรวงวังที่ได้รับแต่งตั้งเพื่อทำการบูรณะถนน อาคาร และสถานที่ ราชการ5 ดังนั้น ตราบใดที่คนท้องถิ่นในมณฑลพายัพไม่ได้เข้าร่วมกับการลุกฮือ ก็จะค่อยๆกลายเป็นส่วน หนึ่งของการจัดการโครงสร้างการปกครองพื้นฐานของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นส่วนหนึ่งของการ “บูรณาการ” สยามที่ราชวงศ์จักรีเป็นผู้นำเข้าสู่สมัยใหม่ และเป็นด้านของ “พระคุณ” อันเป็นด้านหลัก ของการอธิบายประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลัก แต่ในขณะเดียวกันหากใครตกเป็นผู้ต้องสงสัยในการลุกฮือ ต่อต้านในเวลาดังกล่าว ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็จะสำแดงพระเดชในการจัดระเบียบ ดังที่บทความ ได้แสดงไว้ข้างต้น คำถามสำคั ญ ถั ด มาคื อ วั ฒ นธรรมในลั ก ษณะเช่ นใดสามารถธำรงสถาบั น ซึ่ ง ทำหน้ า การจั ด ระเบีย บเอาไว้ไ ด้ หรื อวัฒ นธรรมในลั กษณะเช่ นใดก่อให้เ กิด สถาบันที่ผ ลิต ซ้ำ อุดมการณ์ใ นการรับใช้ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เอาไว้ได้ ผู้วิจัยเห็นว่าคำถามนี้สามารถทดลองตอบได้ด้วยการวิเคราะห์เรื่องเพศ ภาวะของสถาบันอำนาจในระบอบ ดังจะได้อภิปรายในหัวข้อต่อไป 1 2 3 4 5 หจช. (ร.ศ.121, 29 กันยายน). พระราชหัตเลขาในพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 3 การปราบ เงี้ยว. หน้า 7-8. หลวงทวยหาญรักษา (เพิ่ม). (2548). เล่มเดิม. หน้า 286-287. “มหาดไทยมีหน้าที่มีระบอบ/การโต้ตอบรับส่ง จำนงหมาย/เก็บหนังสือถือทะเบียนเพียรอภิปราย/สืบข่าวร้ายดีได้อยู่ในมือ”. แหล่งเดิม. หน้า 286. “ทั้งการวัดจัดสร้างทางกุศล/อีกฝึกฝนเล่าเรียนเขียนหนังสือ/เรื่องเจ็บไข้เก็บรักษาเพื่อหารือ/จัด ยกรื้อฤกษ์งานการพิธี”. แหล่งเดิม. หน้า 286-288. “ยุติธรรมจำจดบทปัญหา/พิพากษาเสร็จชี้คดีโผง/แล้ววางบทกฎพิกัดไว้ตัดโกง/ทั้งปรุโปร่ง ปรีชาปรึกษาความ/ตำแหน่งนาค้าขายทั้งฝ่ายเมือง/นาสวนเรื่องแดนดินถิ่นสยาม/ชนสามัญอันมีในนิคาม/เก็บเงินตาม บาญชีเหมือนที่ดิน/ทั้งอากรผูกขาดอาชญาบัตร/ใครฆ่าสัตว์พาหนะโดยถวิล/สุกรด้วยช่วยเอามาฆ่าให้กิน/รวมทั้งสิ้นนา ตำแหน่งแจ้งกระจาย/เสนาคลังตั้งกำปั่นรายวันจด/เงินทั้งหมดแม่นมั่นสำคัญหมาย/งบประมาณการจรผ่อนต้นปลาย/จะ เบิกจ่ายสิ้นยังคลังจัดแจง”. แหล่งเดิม. หน้า 286. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ปราบเงี้ยวพ.ศ.2445: กึ่งอาณานิคม การใช้กำลังทางทหาร และความเป็นชาย ปรีดี หงษ์สต้น เพศภาวะของสมบูรณาญาสิทธิราชย์: สุภาพบุรุษสยาม (The Siamese Gentlemen) วัฒนธรรมของสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นมีเรื่องเพศภาวะอยู่ตรงใจกลาง โดยเฉพาะในสถาบันที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การจั ด ระเบี ย บเช่ น กองทั พ วั ด ตำรวจ ฯลฯ อั น มี ลั ก ษณะเป็ น “สั ง คมชายล้ ว น” (homosociality) โดยระบอบสร้างสถาบันเช่นนี้หลายสถาบัน ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะธำรงความเป็นชายเช่น นี้เอาไว้ และเพื่อผลิตคนผู้ซึ่งมีค่านิยมและวัฒนธรรมเดียวกันมาบรรจุในระบอบ และส่งผลต่อมาอีก ยาวนานแม้จะสิ้นสุดสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้วก็ตาม1 ผู้วิจัยเห็นพ้องกับ Robert D. Dean ที่ชี้ให้เห็นว่าจักรวรรดิ (empire) มีความเกี่ยวข้องโดยตรง กับเพศภาวะ (gender) โดย Dean เสนอว่าโลกในยุคทศวรรษ 2470 ถึงช่วงสงครามเย็นเป็นยุคของ จักรวรรดิสหรัฐอเมริกา โดยผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯต่างมี “อุดมการณ์แห่ง ความเป็นชาย” (ideology of masculinity) ร่วมกันซึ่งเป็น “ระบบวัฒนธรรมที่กำหนดและจำกัดบทบาท ของปัจเจกบุคคลในสังคม มุ่งสร้างขอบเขตของความเป็นชาย เพื่อจุดประสงค์ในการสร้างความชอบธรรม ในการใช้อำนาจและแสดงความเหนือกว่า [ของสมาชิกในระบบวัฒนธรรมนั้น]”2 โดยคนเหล่านี้ผ่าน สถาบันที่เป็นสังคมชายล้วน อาทิ โรงเรียนประจำ มหาวิทยาลัยสังกัด Ivy League สมาชิกสมาคมลับ (secret societies) ผ่านการฝึกระดับชั้นนำในกองทัพบก และสโมสรชายเมืองกรุง (metropolitan men’s clubs) เป็นต้น สถาบันเหล่านี้ปลูกฝังอุดมการณ์ในการเสียสละและอุทิศตนร่วมกัน รวมทั้งปลูกฝัง ความ เป็นชายในลักษณะเฉพาะแก่ผู้ที่เป็นสมาชิก โดยงานศึกษาของ Dean เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายต่าง ประเทศของสหรัฐฯในช่วงสงครามเย็นนั้น ผ่านระบบวัฒนธรรมเช่นนี้ ซึ่งมีที่มาในยุโรปตั้งแต่ช่วงทศวรรษ ที่ 2440 ในฐานะการกล่อมเกลาเด็กชายให้กลายเป็นข้าราชการทำงานบริหารการขยายตัวของจักรวรรดิ3 ดั ง นั้ น นั ก รบสงครามเย็ น ของสหรั ฐ ฯนั้ น คื อ ผู้ ไ ด้ รั บ การปลู ก ฝั ง ตั้ ง แต่ วั ย เด็ ก จากวั ฒ นธรรมของยุ ค อาณานิคมหลายทศวรรษก่อนหน้านั่นเอง เมื่อนำกรอบนี้มาอธิบายในกรณีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อกลุ่มสยามหนุ่ม4นำโดยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำทางการเมือง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการตั้งข้อสังเกตเอาไว้ ว่า เป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์จักรีนั้นเริ่มมีบทบาทอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทำการสถาปนาอำนาจเต็ม ทางการเมือง และเข้าดำรงตำแหน่งเจ้ากระทรวงต่างๆ5 แต่กระนั้นก็ยังขาดการเน้นย้ำว่า สมาชิกของกลุ่ม สยาม “หนุ่ม” เหล่านี้เป็นเพศชายทั้งหมดทั้งสิ้น พวกเขาร่วมสถาปนาความเป็นชายในลักษณะเฉพาะ หนึ่งๆอย่างเข้มข้น 1 2 3 4 5 เครก เจ. เรย์โนลดส์. (2558, พฤษภาคม-สิงหาคม). สังคมชายล้วนในวัฒนธรรมการเมืองไทยสมัยใหม่. แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น. รัฐศาสตร์สาร. 36(2): 30-62. โดย homosociality หมายความถึง “สังคมหญิงล้วน” ได้ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ได้เป็นประเด็นของบทความนี้ Robert D. Dean. (2001). Imperial Brotherhood: Gender and the Making of Cold War Foreign Policy. p.5. Robert D. Dean. (2001). op. cit. p.4. David K. Wyatt. (1969). The Politics of Reforms in Thailand: Education in the Reign of King Chulalongkorn. p.45 สมเกียรติ วันทะนะ. (2533, มิถุนายน). รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ในสยาม 2435-2475. วารสารสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 17(1): 24. 159 160 วารสารประวัติศาสตร์ 2559 JOURNAL OF HISTORY 2016 ความเป็นชายในลักษณะเฉพาะเช่นนี้เกิดขึ้นพร้อมๆกับการกล่อมเกลาคนจำนวนหนึ่งให้สถาปนา สถาบันในการช่วยค้ำจุนระบอบ โดยผู้วิจัยเรียกพวกเขาเอาไว้ในงานศึกษาชิ้นอื่นว่า “สุภาพบุรุษสยาม” (The Siamese Gentlemen)1 ซึง่ เป็นสถาบันอันเกิดขึน้ พร้อมกับการก่อร่างสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สุภาพบุรุษสยามมีคุณลักษณะอันสำคัญสามประการ ประการแรก ในทางการเมืองพวกเขามี ความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับอุดมการณ์ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์อันเป็นฐานอันสำคัญของการเกิดขึ้นของ ลั ท ธิ ช าติ นิ ย ม ในแง่ นี้ สุ ภ าพบุ รุ ษ ก็ คื อ ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ การกล่ อ มเกลาให้ อุ ทิ ศ ตนกั บ การปกป้ อ งอุ ด มการณ์ นี้ คุณลักษณะประการที่สอง คือสุภาพบุรุษสยามมิได้เป็นสถาบันทางการเมืองแบบใหม่ แต่เป็นการปรับ เปลี่ยนสถาบันเดิมของพุทธศาสนาเถรวาทไทย สุภาพบุรุษสยามแทบจะมีวัตรปฏิบัติไม่ต่างออกไปจาก พระสงฆ์ ผู้ย่อมต้องรักษา “วินัย” ของตนเอาไว้และสถาบันอันสำคัญในการปลูกฝังวินัยเหล่านี้คือสังคม ชายล้วน อาทิ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เป็นต้น คุณลักษณะประการสุดท้ายคือ เหล่าสุภาพบุรุษสยามนี้ เป็นชนชั้นใหม่อันเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนรูปของรัฐไทย ผู้ซึ่งมิได้เป็นเจ้านายในระบบศักดินา มิได้เป็นพวก พ่อค้าวาณิชชาวจีน และก็มิใช่ไพร่ในระบบความสัมพันธ์เดิม กระนั้น คนเหล่านี้เองที่เป็นผู้นำความเป็น ชายแบบเฉพาะนี้ให้เข้าไปอยู่ในชีวิตสังคมของความเป็นไทย ตัวอย่างที่สำคัญของสุภาพบุรุษสยามก็เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิม์ นตรี (สนัน่ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนธราธิบดี (เปีย มาลากุล ณ อยุธยา) เป็นต้น2 สุภาพบุรุษ สยามนี้เองเป็นสถาบันทางการเมือ งอันสำคัญในการร่วมก่อ ร่า งสร้า งรัฐสมัยใหม่ เป็นกลุ่มคนที่สามารถทำหน้าที่มากไปกว่าที่สถาบันเก่าคือพระสงฆ์ได้ทำ เนื่องจากพวกเขามีวัฒนธรรม ร่วมอันจำเป็นต่อการสร้างและธำรงอำนาจของระบอบโดยเฉพาะการสำแดง “พระเดชและพระคุณ” อันเป็นวัฒนธรรมที่จำเป็นของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ผู้วิจัยได้เสนอไว้ในข้างต้น ในข้อเขียนของ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้อรรถาธิบายของเหล่าบุรุษผู้จะรับใช้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่า พวกเขา “ไม่ใช่นักบุญเสมอไป...อาจปราบยุงก็ได้ ฆ่าอสรพิษก็ได้ ทำลายด้วงมะพร้าวก็ได้...ยอมเสียสละ ยอมขาดความกรุณาในส่วนควรเหล่านั้น ด้วยกำลังเมตตาจิตต์ที่จะเกิดสุขประโยชน์ทั่วไป ถ้าจะ เปรียบก็ไม่แปลกอะไรกับกฎหมายที่ยุตติธรรมย่อมประหารผู้ผิดตามโทษานุโทษ”3 อุดมการณ์ความเป็นชายที่ผู้วิจัยจะนำมาวิเคราะห์คือที่ปรากฏในกองทัพที่ยกขึ้นทางภาคเหนือ เพื่อปราบเงี้ยวในปี 2445 โดยกองทัพนำโดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) และมีบันทึกการ เดินทัพโดยเลขาธิการของกองทัพชื่อนายร้อยเอกหลวงทวยหาญรักษา (เพิ่ม) บันทึกการเดินทัพชิ้นนี้ซึ่ง ครอบคลุมตั้งแต่การเดินทัพจากกรุงเทพฯในวันที่ 6 สิงหาคม 2445 และจบบันทึกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2446 รวมแล้วประมาณ 6 เดือน4 1 2 3 4 Preedee Hongsaton. (2015). Wela Wang: Technologies, Markets, and Morals in Thai Leisure Culture, 1830s-1932. pp.184-189. Ibid. pp.189-197. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา). (2525). เนื่องด้วยจิตต์. ใน ที่ระลึกงานประชุมเพลิง หม่อมแม้น เทพหัสดิน ณ อยุธยา. หน้า 97. หลวงทวยหาญรักษา (เพิ่ม). (2548). นิราศเมืองหลวงพระบางและรายงานปราบเงี้ยว. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ปราบเงี้ยวพ.ศ.2445: กึ่งอาณานิคม การใช้กำลังทางทหาร และความเป็นชาย ปรีดี หงษ์สต้น โดยแม้ ว่ า บั น ทึ ก การเดิ น ทั พ ชิ้ น นี้ จ ะไม่ ไ ด้ ถู ก เขี ย นโดยเจ้ า พระยาสุ ร ศั ก ดิ์ ม นตรี (ผู้ ซึ่ ง เป็ น สุภาพบุรุษสยามผู้หนึ่ง) แต่สามารถสันนิษฐานได้ว่า ย่อมจะต้องได้รับการตรวจและผ่านการอนุญาตของ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี และการอ่านบันทึกการเดินทัพในปี 2445 นั้นสามารถทำให้เห็นถึงวัฒนธรรม ของกองทั พ สยามได้ อ ย่ า งน่ า สนใจ ซึ่ ง ไม่ ส ามารถเห็ น ได้ จ ากพระราชพงศาวดารทางการที่ ใ ห้ ภ าพ ประวัติศาสตร์ที่เป็นทางการ และเป็นแง่มุมจากผู้นำเท่านั้น รายงานปราบเงี้ยวชิ้นนี้เผยให้เห็นแง่มุมที่สำคัญ เป็นแง่มุมจากเหล่าทหารชายที่ร่วมทัพไปด้วย โดยเฉพาะแง่มุมทางเพศภาวะเมื่อทหารไทยชายได้พบกับชาวบ้านท้องถิ่น กองทัพที่เดินทางไปถึงมณฑล พายัพ หลังจากทำการพักทัพ เหล่าทหารชั้นผู้น้อยก็ไปนั่งอยู่ริมแม่น้ำยม โดยมีการอธิบายรูปร่างของหญิง ชายชาวบ้านที่กำลังลงอาบน้ำในแม่น้ำว่า “แล้วออกนอกพาราเวลาร่ม ยืนยกอกรอราในสาคร ที่ลงน้ำชำระสริร่าง กลัวเสียศรีปี้ป่นเป็นมลทิน ชายก็เป็นเช่นกันดูขันขำ แลดูเพื่อนเหมือนดังนุ่งกางเกง ในน้ำยมยลสาวลาวสลอน บ้างลงช้อนกุ้งปลาตามวาริน ไม่ระคางขายหน้ารักผ้าซิ่น ใครจะยินดีดูอดสูเอง ล้วนพุงดำโดดเล่นลงเต็นเหย็ง ดูโตงเตงตามกันช่างขันจริง”1 โดยจากมุมมองของทหารไทย รูปร่างของ “สาวลาว” นั้นมีความดึงดูดจากการ “ยกอกรอราในสาคร” และรูปร่างของผู้ชายนั้นดู “น่าขันขำ” เนื่องจากสักที่บริเวณส่วนล่างของร่างกายหนาแน่นจนกระทั่งมองดู ไกลๆเหมือนการสวมกางเกง ทั้งๆที่ไม่ได้สวมอยู่ จากนั้นทหารไทยพักจากทัพเพื่อไปเดินเที่ยวตลาด พวกเขาก็ “ที่เจ้าชู้กรูเกรียวพูดเกี้ยวสาว ก็ ว่ากล่าวข้อความตามประสงค์/เสียงฮาเฮเสสรวลนวลอนงค์/เที่ยวเดินวงเวียนรอทำกรอกราย” และทำการ สำรวจตรวจตราคนท้องถิ่นไทยเหนือ เห็นผู้หญิงลาวและบันทึกต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่า “ความเป็นหญิง” ของไทยเหนือในสายตาของทหารไทยนั้นมีความแปลกประหลาดเช่นไรบ้าง “เดินยกเท้าก้าวย่างทางถนน เสียสิ่งเดียวเยี่ยวไม่นั่งหล่อนช่างทำ ล้วนเกล้าผมคมสันเป็นมันมุ่น เข็มทองกลัดขัดทำดูสำอาง ลานทองคำทำต่างอย่างทองม้วน เป็นตุ้มถ่วงหน่วงยานสงสารกาย สไบหุ้มปทุมถันนั้นก็ใช้ ให้เด่นดอกออกทางเป็นช้างงา 1 2 หลวงทวยหาญรักษา (เพิ่ม). (2548). เล่มเดิม. หน้า 280. แหล่งเดิม. หน้า 281-282. ดูกรอมส้นสวยตาออกคล้าคล่ำ เห็นให้รำคาญตาทำท่าทาง งามละมุนเมาลีด้วยหวีสาง ดอกไม้ต่างสีเสียบดูเรียบราย ใส่ประด่วนดีดูอุดหูหาย แต่เขาหมายมุ่งความว่างามตา แต่มันไม่มิดดวงพวงบุหงา ไม่แกล้งว่ากล่าวความตามที่เป็น”2 161 162 วารสารประวัติศาสตร์ 2559 JOURNAL OF HISTORY 2016 “ผู้หญิงลาว” เป็นจุดศูนย์กลางในการดึงดูดทางเพศเหล่าทหารไทย ด้วยคำอธิบายการแสดงให้เห็นความ ลึกลับ ความแปลกแปร่งว่า “เสียสิ่งเดียวเยี่ยวไม่นั่งหล่อนช่างทำ” ความน่าดึงดูดทางเพศว่า “สไบหุ้ม ปทุมถันนั้นก็ใช้/แต่มันไม่มิดดวงพวงบุหงา/ให้เด่นดอกออกทางเป็นช้างงา” จนกระทั่งทหารไทยต้อง ระบายความต้องการทางเพศออกมาว่า “ธรรมเนียมข้าราชการมางานทัพ แม้นเปล่าปลอดรอดกายไม่วายชนม์ จึงสู้ตนจนจริงทำนิ่งขรึม เที่ยวยลสาวลาวแพร่แลอนันต์ จะยากยับยุคเข็ญเป็นกุศล ก็คงพ้นทุกข์ไปได้สักวัน คิดกระหึมนึกในใจให้กระสัน ให้กระสันเสียวจิตคิดถึงเรือน”1 รายงานการปราบเงี้ยวที่ผู้วิจัยได้หยิบยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้ ต้องการเสนอว่า การยกทัพ ปราบเงี้ยวในปี 2445 นั้นเป็นมากกว่าแค่ปฏิบัติการทางการทหารของสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น แต่ เป็ น ปฏิ บั ติ ก ารทางเพศภาวะ ซึ่ ง เป็ น กระบวนการจั ด ประเภทความเป็ น หญิ ง และความเป็ น ชายเมื่ อ อุดมการณ์ความเป็นชายจากส่วนกลางได้ปะทะเข้ากับการแสดงออกทางเพศภาวะที่ต่างออกไปจากตน ปฏิบัติการทางเพศภาวะของกองทัพไทยนั้นอาจไม่ได้เป็นเพียงแค่การอุปมา เพราะบทบันทึกต่อ ไปนี้แสดงให้เห็นว่ามีการบรรยายอันถึงพริกถึงขิงว่า “ที่หนุ่มหนุ่มนายทหาร[ไทย]นั้นชาญเชี่ยว ก็รักใคร่ได้เฝ้าอยู่เคล้าคลึง พอได้กลิ่นกระถิ่นเถื่อนก็เลื่อนลับ ชอบโลมลิ้มชิมชืดไม่ยืดยาว นิสัยชาวลาวดื้อถือเนื้อหนัง แมงภู่ไปผึ้งมาพาประเทือง ทั้งทหารคนใช้ก็ได้สิ้น ความคิดลาวคราวทัพถึงอับจน ท่านไปเกี้ยวสาวสันนั้นบหึง เหมือนแมงผึ้งภู่ฟอนเกสรลาว ไปเที่ยวจับเจาะตามดอกสามหาว จนออกฉาวฉ่าดังแทบทั้งเมือง ไม่เปื่อยพังหมดสิ้นได้ยินเรื่อง ไม่คิดเคืองขุ่นข้องหมองกระมล เลยหากินเก็บรักษ์เป็นภักษ์ผล เนื้อหนังป่นเปื่อยไปทั้งไทยลาว”2 จะเห็ นได้ ว่ า จะด้ ว ยความตั้ งใจหรื อไม่ ก็ ต าม รายงานการยกทั พไปปราบเงี้ ย วในปี 2445 เป็นการบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาความสัมพันธ์เพศภาวะทางอำนาจ เส้นแบ่ง ระหว่างการอุปมาในเชิงวรรณศิลป์และความเป็นจริงนั้นอาจจะไม่ได้ชัดเจนนักและคงจะเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก ที่จะสอบทานหลักฐานนี้กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ แต่อย่างน้อยที่สุดในทางอุปมา ได้เกิดการ “เจาะ” เกสรลาว (อันถูกทำให้เป็นหญิง) โดยทหารไทย (ผ่านอุดมการณ์ความเป็นชาย) เพื่อทำให้ กระบวนการใช้อำนาจของสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยามนั้นเสร็จ “สิ้น” สมบูรณ์ 1 2 แหล่งเดิม. หน้า 282. หลวงทวยหาญรักษา (เพิ่ม). (2548). เล่มเดิม. หน้า 283. (ตัวเน้นโดยผู้วิจัย) สมบูรณาญาสิทธิราชย์ปราบเงี้ยวพ.ศ.2445: กึ่งอาณานิคม การใช้กำลังทางทหาร และความเป็นชาย ปรีดี หงษ์สต้น สรุป บทความวิจัยนี้ได้นำเสนอว่า ในการจะศึกษาประวัติศาสตร์สยามในช่วงพุทธศตวรรษที่ 2430 ถึง 2440 นั้น นอกเหนือจากความพยายามเข้าใจการเกิดขึ้นของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในทาง เศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งเป็นมิติอันสำคัญเป็นอย่างยิ่งแล้ว การพยายามทำความเข้าใจวัฒนธรรมของ ระบอบนี้ก็มีความจำเป็นในการทำให้เราเข้าใจว่าระบอบสำเร็จและล้มเหลวอย่างไร และเพื่อให้เห็นถึง คลี่คลายของระบอบนี้หลังจากการเปลี่ยนแปลงในปี 2475 ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์วัฒนธรรมของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่านเหตุการณ์ขบถเงี้ยว 2445 ด้วย เหตุผลที่กว้างออกไปกว่าพื้นที่ๆบทความนี้จะใช้ในการอภิปรายได้ แต่เพื่อที่จะเข้าใจรัฐไทยสมัยใหม่ การ อภิปรายเรื่องวัฒนธรรมของระบอบอาจจะพอทำให้เห็นว่า กระบวนการเปลี่ยนรูปแบบของรัฐไทยอาจจะกิน ระยะเวลายาวนานและไม่ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และเราอาจจะพอเห็นร่องรอยของการสะสม การตกค้างของ ความพยายามในการสถาปนาอำนาจของสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่เป็นพยานถึง โครงสร้างความรู้สึกของการเปลี่ยนแปลงจากพลังใหม่ ซึ่งทั้งสองพลังยังคงต่อสู้กันอย่างเป็นพลวัต แม้จะ ผ่านการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา 84 ปีแล้วก็ตาม บรรณานุกรม เอกสารชั้นต้น ประชุมพงศาวดารเล่ม 48 ปราบเงี้ยว (กรุงเทพฯ: คุรุสภา, 2513). หจช., พระราชหัตเลขาในพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 3 การปราบเงี้ยว, 29 กันยายน ร.ศ.121 เอกสารภาษาไทย แจ็คสัน, ปีเตอร์ เอ. (2556, มกราคม-เมษายน). ความคลุมเครือของอำนาจกึ่งอาณานิคมในประเทศ ไทย. แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น. รัฐศาสตร์สาร. 34(1): 1-40. ณัฐพล ใจจริง. (2252). การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐ อเมริกา พ.ศ.2491-2500. วิทยานิพนธ์ดษุ ฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เตช บุนนาค. (2524). ขบถ ร.ศ.121. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราฯ. ธงชัย วินิจจะกูล. (2544, มกราคม). ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยม: จากยุคอาณานิคมอำพราง สู่ราชาชาตินิยมใหม่หรือลัทธิเสด็จพ่อของกระฎุมพีไทยในปัจจุบัน. ศิลปวัฒนธรรม. 23(1): 56– 65. ธรรมศักดิ์มนตรี, เจ้าพระยา (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา). (2525). เนื่องด้วยจิตต์. ใน ที่ระลึกงาน ประชุมเพลิงหม่อมแม้น เทพหัสดิน ณ อยุธยา. กรุงเทพฯ: ครอบครัวหม่อมแม้น เทพหัสดิน ณ อยุธยา. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554, เมษายน-มิถนุ ายน). มรดกของใคร?. ฟ้าเดียวกัน 9(2): 59-66. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2557, มกราคม-มิถุนายน). รัฐสยามกับล้านนา พ.ศ.2417-2476. วารสาร ศรีนครินทรวิโรฒวิจยั และพัฒนา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6(11):63-77. ปรีดี หงษ์สต้น. (2557-2558, ตุลาคม-มีนาคม). เชือดไก่ให้ลิงดู: รัฐไทยกับการทำลายศัตรูด้วย นาฏกรรม. วารสารประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์. 1(2): 53-99. 163 164 วารสารประวัติศาสตร์ 2559 JOURNAL OF HISTORY 2016 เรย์โนลดส์, เครก เจ. (2558, พฤษภาคม-สิงหาคม). สังคมชายล้วนในวัฒนธรรมการเมืองไทย สมัยใหม่. แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น. รัฐศาสตร์สาร. 36(2): 30-62. วิไลเลขา ถาวรธนสาร. (2545). ชนชั้นนำไทยกับการรับวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. สมเกี ย รติ วั น ทะนะ. (2533, มิ ถุ น ายน). รั ฐ สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ์ ใ นสยาม 2435-2475. วารสาร สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 17(1): 23-44. สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). อาณานิคมภายในกับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวแบบเพื่อศึกษาความ สัมพันธ์ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของอีสานกับรัฐบาลกลางของประเทศไทย. ใน หมู่บ้านอีสานยุค “สงครามเย็น” สังคมวิทยาของหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. หน้า 152170. กรุงเทพฯ: มติชน. หลวงทวยหาญรักษา (เพิ่ม). (2548). นิราศเมืองหลวงพระบางและรายงานปราบเงี้ยว. กรุงเทพฯ: กรม ศิลปากร. เอกสารภาษาอังกฤษ Anderson, Benedict. (1998). Spectre of Comparisons: Nationalism, South-East Asia and the World. London: Verso. Chaiyan Rajchagool. (1994). The Rise and Fall of the Thai Absolute Monarchy: Foundations of the Modern Thai State from Feudalism to Peripheral Capitalism. Bangkok; Cheney: White Lotus. Chatthip Nartsupha; & Suthy Prasartset. (1981). The Political Economy of Siam, 1851-1910. Bangkok: Social Science Association of Thailand. Copeland, Matthew Phillip. (1993). Contested Nationalism and the 1932 Overthrow of the Absolute Monarchy in Siam. Ph.D. Thesis, Australian National University. Dean, Robert D. (2001). Imperial Brotherhood: Gender and the Making of Cold War Foreign Policy. Amherst&Boston: University of Massachusetts Press. Fanon, Frantz. (1963). The Wretched of the Earth. New York: Grove Press. Herzfeld, Michael. (2002). The Absence Presence: Discourses of Crypto-Colonialism. The South Atlantic Quarterly. 101(4): 899-926. Hong, Lysa. (2003). Extraterritoriality in Bangkok in the reign of King Chulalongkorn, 18681910: The Cacophonies of Semi-Colonial Cosmopolitanism. Itinerario. 2(2):125-146. Jory, Patrick. (2000, September). Books and the Nation: The Making of Thailand’s National Library. Journal of Southeast Asian Studies. 31(2): 351-373. Kullada Kesboonchoo Mead. (2004). The Rise and Decline of Thai Absolutism. London: Routledge. Loos, Tamara. (2006). Subject Siam: Family, Law, and Colonial Modernity in Thailand. Chiang Mai: Silkworm Books. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ปราบเงี้ยวพ.ศ.2445: กึ่งอาณานิคม การใช้กำลังทางทหาร และความเป็นชาย ปรีดี หงษ์สต้น Loos, Tamara. (2010). Competitive Colonialism: Siam and the Malay Muslim South. In The Ambiguous Allure of the West: Traces of the Colonial in Thailand, edited by. Rachel V. Harrison and Peter A. Jackson, pp.75-91. Hong Kong: Hong Kong University Press; Ithaca, N.Y.: Cornell Southeast Asia Program Publications. Murdoch, John B. (1974). The 1901-1902 ‘Holy Man’s’ Rebellion. Journal of Siam Society. 62(1): 47-66. Preedee Hongsaton. (2015). “Wela Wang: Technologies, Markets, and Morals in Thai Leisure Culture, 1830s-1932”. Ph.D. Thesis, Australian National University. Reynolds, Craig J. (1999). On the Gendering of Nationalist and Postnationalist Selves in Twentieth Century Thailand. In Genders and Sexualities in Modern Thailand. edited by Peter A. Jackson and Nerida M. Cook. Chiang Mai Silkworm Books. Tej Bunnag. (1977). The Provincial Administration of Siam, 1892-1915: The Ministry of Interior under Prince Damrong Rajanubhab. Kuala Lumpur: Oxford University Press. Thanapol Limapichart. (2008). The Prescription of Good Books: The Formation of the Discourse and Cultural Authority of Literature in Modern Thailand (1860s-1950s). Ph.D. Thesis, University of Wisconsin-Madison. Thanapol Limapichart. (2009). The Emergence of the Siamese Public Sphere: Colonial Modernity, Print Culture and the Practice of Criticism (1860s-1910s). South East Asia Research. 17(3): 361-399. Thomas, Martin. (2012). Violence and Colonial Order: Police, Workers, and Protest in the European Colonial Empires, 1918-1940. Cambridge: Cambridge University Press. Thongchai Winichakul. (2000). The Quest for “Siwilai”: A Geographical Discourse of Civilizational Thinking in the Late Nineteenth and Early Twentieth-Century Siam. The Journal of Asian Studies. 59(3): 528-549. Thongchai Winichakul. (2000). The Others Within: Travel and Ethno-Spatial Differentiation of Siamese Subjects 1885-1910. In Civility and Savagery: Social Identity in Tai States, edited by Andrew Turton, pp.38-62. Richmond, Surrey: Curzon Press. Udomporn Teeraviriyakul. (2014). Bangkok Modern: The Transformation of Bangkok with Singapore and Batavia as Models (1861-1897). Bangkok: Institute of Asian Studies, Chulalongkorn Universiy. Wyatt, David K. (1969). The Politics of Reforms in Thailand: Education in the Reign of King Chulalongkorn. Bangkok: Thai Wattana Panich. 165