บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.5K
2 นาที
10 พฤศจิกายน 2564
6 ปัญหาของธุรกิจแฟรนไชสไทยที่ต้องแก้ไข
 

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบแฟรนไชส์ของไทยในปัจจุบัน นอกจากจะมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ การระบาดโควิด-19 การแข่งขันของธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยกันเอง ยังมาจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบแฟรนไชสี่แท้จริง ปัญหาที่เกิดเหล่านี้เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ
 
1.ปัญหาแฟรนไชส์ซีไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์
 

แฟรนไชส์ไชส์หลายรายไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง โดยเฉพาะในเรื่องของการจ่ายค่าลิขสิทธิ์รายเดือนให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ ทำให้แฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถพัฒนารูปแบบแฟรนไชส์ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในเรื่องดำเนินธุรกิจแก่แฟรนไชส์ซีได้อย่างเต็มที่ 
 
2.ปัญหาการตลาดและแข่งขันกับแฟรนไชส์รายใหญ่
 

ธุรกิจแฟรนไชส์รายใหญ่มีอํานาจต่อรอง และมีกลยุทธ์ธุรกิจที่ชัดเจน มีการวางแผนการตลาดที่พร้อมด้วยข้อมูลข่าวสาร แฟรนไชส์ขนาดใหญ่จะมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองได้รวดเร็วกว่าแฟรนไชส์ขนาดเล็ก จึงส่งผลให้แฟรนไชส์ขนาดเล็กได้รับผลกระทบ ไม่สามารถสร้างอำนาจต่อรองในตลาดได้ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ถึงกลุ่มเป้าหมายได้ยาก
 
3.ปัญหาการบริหารจัดการสาขาแฟรนไชส์
 

การวางรูปแบบการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นระบบ ทําให้ระบบการบริหารงานสาขาแฟรนไชส์ผิดพลาด และไม่สามารถควบคุมข้อมูลข่าวสารที่ต้องการได้ ระบบการทํางานจะต้องมีความแน่นอน สามารถวัดผลได้ รวมถึงการควบคุมคุณภาพ การวิเคราะห์การควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการบริหารการเงินบัญชี การบริหารข้อมูลเพื่อการพัฒนาตลาด และการจัดการบุคลากร และ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย และ ประยุกต์ใช้ระบบโลจิสติกส์ได้อย่างลงตัว
 
4.ปัญหาแนวความคิดธุรกิจที่ไม่ชัดเจน
 

 
แฟรนไชส์ซีอาจไม่รู้ถึงแนวความคิดในการดําเนินธุรกิจ ว่าจะต้องทําการศึกษาถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้า โดยส่วนใหญ่แล้วธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ เพราะแฟรนไชส์ซีคิดแต่เพียงว่า ต้องเน้นตัวผลิตภัณฑ์ หรือ ราคาเป็นหลัก โดยขาดการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า แฟรนไชส์ซอร์ควรเป็นผู้ศึกษาและหาข้อมูลป้อนแก่แฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง

5.ปัญหาของแฟรนไชส์ที่ไม่เป็นระบบ
 

ระบบแฟรนไชส์ในบางครั้งเน้นเพียงการสร้างความเข้าใจในส่วนการปฏิบัติการ แฟรนไชส์ซีอาจไม่มีโอกาสได้พูดคุยหรือพัฒนาแนวความคิดร่วมกันกับแฟรนไชส์ซอร์ ตั้งแต่ระบบการอบรม คู่มือการปฏิบัติงานไม่มีรายละเอียดเพียงพอ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อแฟรนไชส์ซีในการดําเนินธุรกิจ คู่มือแฟรนไชส์ที่ดีเมื่อนําไปปฏิบัติสามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ที่สำคัญแฟรนไชส์ซอร์ควรมีที่ปรึกษาให้คําแนะนําแก่แฟรนไชส์ซีเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจเมื่อมีปัญหาระหว่างดําเนินกิจการ
 
6.ปัญหาด้านกฎหมายและกฎระเบียบ
 

แฟรนไชส์ซอร์หลายรายไม่มีความชัดเจนในรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ ไม่มีผู้รับรองความสําเร็จหรือความมั่นคงในการทําธุรกิจ จัดตั้งขึ้นมาโดยเอกเทศ มีการสร้างข้อบังคับและระเบียบต่างๆ โดยเอาเปรียบผู้ซื้อแฟรนไชส์ อาจส่งผลเสียต่อผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ในอนาคต ดังนั้น แฟรนไชส์ซอร์ที่ดีควรมีการจัดตั้งธุรกิจอย่างถูกต้อง มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้รับรองคุณภาพมาตรฐานธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
 
นั่นคือ 6 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบแฟรนไชส์ไทย ที่ต้องแก้ไข
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 

Franchise Tips
  1. ปัญหาแฟรนไชส์ซีไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์
  2. ปัญหาการตลาดและแข่งขันกับแฟรนไชส์รายใหญ่
  3. ปัญหาการบริหารจัดการสาขาแฟรนไชส์
  4. ปัญหาแนวความคิดธุรกิจที่ไม่ชัดเจน
  5. ปัญหาของแฟรนไชส์ที่ไม่เป็นระบบ
  6. ปัญหาด้านกฎหมายและกฎระเบียบ
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อัพเดทภาษีป้าย ฉบับปี 2567 เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์..
4,940
10 แฟรนไชส์ของแทร่ เลือกลงทุนได้เลย ปี67
681
5 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนเมษายน 2567
610
อวสาน! แฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ลงทุนสูง ถ้าไม่เปิดเอง ก..
582
เปิดใจ “คุณออย” เอบิสึ ราเมน สาขาอิสรภาพ ยอดขายด..
579
เทรนด์ใหม่! #แฟรนไชส์จับคู่ เปิดข้าง เน้นลงทุนที..
578
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด