Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรณียูทูบเบอร์รายหนึ่ง เผยคลิป “2021 แล้ว ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ” จนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกออนไลน์ และต่อมาเจ้าตัวต้องออกมาขอโทษ ทำให้เกิดดราม่า ผุดแฮชแท็ก #Saveรองเท้าแตะ ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ประเทศไทย

เมื่อพูดถึง ‘รองเท้าแตะ’ แบรนด์ที่คนไทยต่างรู้จักและคุ้นเคยกันดี ก็คือ นันยางตราช้างดาว รองเท้าแตะพื้นยางสีขาว สายหนีบสีฟ้า และต่อมาพัฒนามีหลายสีสันให้เข้ากับแฟชั่นมากขึ้น workpointTODAY รวบรวมข้อมูลความน่าสนใจของธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายรองเท้าแตะของไทยที่เก่าแก่อายุร่วมศตวรรษนี้ไว้ นอกจากที่มาของแต่ละแบรนด์ที่น่าสนใจแล้ว ผลประกอบการส่วนใหญ่ก็มีแต่กำไร

เริ่มที่บริษัท นันยาง ย่างก้าวตำนานความเก๋า ‘รองเท้าแตะตราช้างดาว รุ่น 200’ เป็นรุ่นแรกที่ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2499 ต่อจากตำนานรองเท้าผ้าใบนันยาง ที่เดินเครื่องผลิตในไทยได้เพียง 3 ปี หลังการจดทะเบียนการค้า ‘นันยาง ตราช้างดาว’ กับกระทรวงพาณิชย์ในปีพ.ศ. 2492 ภายใต้การบริหารของ นายห้างวิชัย ซอโสตถิกุล และ คุณนายบุญสม ซอโสตถิกุล ภรรยา

รองเท้าแตะตราช้างดาว รุ่นแรกพัฒนาส่วนผสมและกระบวนการผลิตอย่างลงตัว จึงให้รองเท้าแตะตราช้างดาวขณะนั้นได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม มีสองสีคือ สีน้ำตาลและสีน้ำเงิน ใส่ในถุงพลาสติกใส ราคาคู่ละ 15 บาท เมื่อ พ.ศ. 2528 ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก)

ปัจจุบัน รองเท้าแตะนันยางตราช้างดาว หลายร้อยล้านคู่ได้ผ่านร้อนหนาวร่วมกับคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก ด้วยเอกลักษณ์ความสบาย ง่ายง่าย ทนทาน ลุยไปทุกที่ ใส่ได้หมดไม่ว่ารวยหรือจน ทุกเพศทุกวัย และได้รับความนิยมจากรุ่นสู่รุ่น ช้างดาวจึงเป็นมากกว่ารองเท้า เป็นมากกว่าแฟชั่น แต่เป็น ‘สไตล์’ ที่อยู่เหนือกาลเวลา

ในวันนี้นันยางที่กำลังเติบโตไปได้อย่างสวยงาม ได้ส่งไม้ต่อมาถึงทายาทรุ่นที่ 3 อย่าง ‘ชัยพัชร์ ซอโสตถิกุล’ ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด และน้องเล็กรุ่นที่ 3 ‘จักรพล จันทวิมล’ ผู้อำนวยฝ่ายการตลาดและการขาย ที่จะพานันยางก้าวเดินต่อไป กับความเก๋าสไตล์นิวเจนหนุ่มไฟแรง

สิ่งที่นันยางได้ทำการตลาดและตอกย้ำกลับไปสู่กลุ่มลูกค้าคือเรื่องวัสดุ จุดเด่นที่หลายคนอาจไม่ได้สังเกตคือ รองเท้านันยางทุกคู่ผลิตจากยางพารา 100% มีคุณสมบัติเกาะพื้นและยืดหยุ่นได้ดี ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สนับสนุนการเกษตรไทย และยังนำรายได้กลับเข้าสู่ประเทศด้วย เพราะนอกจากตลาดในประเทศแล้ว นันยางยังชิงส่วนแบ่งการตลาดในต่างประเทศด้วย ทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาร์ บังคลาเทศ ปากีสถาน อินโดนิเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป็นต้น

Tips :  คือ ระวังหาย  ระวังของทำเหมือน

ผลประกอบการ ปี 2562 บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด

  • มีสินทรัพย์รวม 496.42 ล้านบาท
  • รายได้รวม 1,243.63 ล้านบาท และ กำไรสุทธิ 32.70 ล้านบาท

 

และแบรนด์รองเท้าแตะที่น่าสนใจเป็นที่ยอมรับของตลาด ก็คือแบรนด์ ‘กีโต้’ (Kito) และ ‘แกมโบล’ (Gambol) ที่หลายคนอาจคิดว่าสองยี่ห้อนี้เป็นคู่แข่งกัน แต่ความจริงแล้วมีเจ้าของเดียวกัน นั่นคือ พี่น้องตระกูล ‘กิจกำจาย’  สร้างโรงงานผลิตรองเท้าขึ้นเมื่อปี 2532 ภายใต้ชื่อบริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด บริหารงานโดย ‘สมพงษ์ กิจกำจาย’ ผู้คร่ำหวอดธุรกิจผลิตรองเท้า อยู่กับธุรกิจนี้มาทั้งชีวิตเพราะเขาคลุกคลีทำมาตั้งแต่อายุ 15 ปี

บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 เป็นโรงงานผู้ผลิตรองเท้าสำเร็จรูปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและระดับเอเชียแปซิฟิก มีกำลังการผลิตมากกว่า 60,000 คู่ต่อวัน แบรนด์ที่โดดเด่นของบิ๊กสตาร์ ก็คือ ‘แกมโบล’

เฉพาะ บิ๊กสตาร์ บริษัทเดียว ในปี 2562

  • มีสินทรัพย์รวม 1,050.30 ล้านบาท
  • รายได้รวม 1,267.85 ล้านบาท และ กำไรสุทธิ 56.44 ล้านบาท

บิ๊กสตาร์รุกตลาดสำคัญที่สินค้าได้ค่อนข้างดี เนื่องจากผู้บริโภคยอมรับสินค้าไทยว่าเป็นสินค้าคุณภาพ ส่งออก 40 ประเทศทั่วโลก เช่น สปป.ลาว, เมียนมา, กัมพูชา เวียดนาม อินเดีย รัสเซีย หรืออีกหลายประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโซนตะวันออกกลาง

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันบริษัท กีโต้ (ประเทศไทย) จำกัด ก็เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในปี 2535  มีตั้งแต่รองเท้าแตะ รองเท้ารัดส้น รองเท้าแฟชั่น รองเท้าผ้าใบ รองเท้ากีฬา รองเท้าแตะฟองน้ำ รองเท้านักเรียน รองเท้าเด็ก ที่ผลิตจากฝีมือคนไทยในประเทศไทยทั้งนั้น “กีโต้” แบรนด์รองเท้าของคนไทยที่อยู่มายาวนานแต่ยังดูทันสมัย ด้วยการบริหารงานอย่างคนรุ่นใหม่ ที่มีแนวคิดเปิดกว้าง ไร้ขีดจำกัด ฉีกกฎเดิมๆ ให้ทันสมัยและตามทันกระแสอยู่เสมอ

และยิ่งไปกว่านั้นกีโต้ยังมุ่งมั่นไปสู่แบรนด์ระดับโลก ทั้งยังเป็นที่ไว้วางใจด้วยมาตรฐานระดับสากล ที่ได้รับความน่าเชื่อถือกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ประเทศอินเดีย ประเทศรัสเซีย หรืออีกหลายๆประเทศในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโซนตะวันออกกลาง ซึ่งตลาดเดียวกับ ‘แกมโบล’ เรียกได้ว่าในเครือบิ๊กสตาร์ใช้กลยุทธ์สร้างแบรนด์ใหม่ ไม่ปันส่วนแบ่งการตลาดให้ใครครอง

ผลประกอบการ ปี 2562 บริษัท กีโต้ (ประเทศไทย) จำกัด

  • มีสินทรัพย์รวม 1,080.30 ล้านบาท
  • รายได้รวม 1,004.24 ล้านบาท และ กำไรสุทธิ 52.84 ล้านบาท

ดังนั้น ถ้ารวมรายได้ทั้งสองแบรนด์เข้าด้วยกัน เครือบิ๊กสตาร์ ก็จะมีรายได้กว่า 2,272 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 109 ล้านบาท

 

ส่วนอีกแบรนด์ที่ครองส่วนแบ่ง เจ้าตลาดรองเท้าแตะ ก็คือแบรนด์ ‘แอ๊ดด้า’ ภายใต้ บริษัท แอ๊ดด้า ฟุตแวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด

ผลประกอบการ ปี 2562 น่าสนใจเป็นอย่างมาก

  • มีสินทรัพย์รวม 1,348.33 ล้านบาท
  • รายได้รวม 1,903.67 ล้านบาท และ กำไรสุทธิ 15.70 ล้านบาท

 

เมื่อเห็นตำนานความเก๋าของธุรกิจของเท้าแตะโดยคนไทย และผลประกอบการยอดขายปีละพันล้าน ท้ายที่สุดคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เส้นทางที่ผ่านร้อนผ่านหนาวจนยืนหยัดอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ของแต่ละแบรนด์ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการมองเห็นโอกาส ว่าเมืองไทยและแถบภูมิภาคเดียวกันเป็นเมืองร้อน และพัฒนาสินค้าจนมีคุณภาพและมาตรฐานเท่านั้น แต่ยังมาจากการพยายามปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ภาพรวมในขณะนั้น รวมถึงพยายามเข้าใจ เข้าถึงพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป

ก้าวย่างของ ‘รองเท้าแตะ’ นับร้อยล้านคู่ได้ผ่านร้อนหนาวร่วมกับคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก ด้วยเอกลักษณ์ความสบาย ง่ายง่าย ทนทาน ลุยไปทุกที่ ใส่ได้หมดไม่ว่ารวยหรือจน ทุกเพศทุกวัย และได้รับความนิยมจากรุ่นสู่รุ่น ‘รองเท้าแตะ’ จึงเป็นมากกว่ารองเท้า เป็นมากกว่าแฟชั่น แต่ยังมีอีกหลายมิติ ทั้งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรยางพารา เป็นธุรกิจหนึ่งที่หล่อเลี้ยงพนักงาน ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ประเทศอีกด้วย

ที่มา:

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า