28 มิ.ย. 2020 เวลา 16:29
กฎหมายตราสามดวง
กฎหมายตราสามดวงได้รับยกย่องว่าเป็น ประมวลกฎหมายฉบับแรกแห่งสัมยรัตนโกสินทร์ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ 1 เนื่องจากเป็นการนำบทกฎหมายลักษณะต่าง ๆ ที่ใช้ในขณะนั้นอันมีมาแต่สมัยอยุธยา มารวบรวมเป็นหมวดหมู่ และชำระดัดแปลงบางบทที่วิปลาสทำให้เสียความยุตธรรมออกไป
กฎหมายฉบับต่าง ๆ ที่ประกอบอยู่ในกฎหมายตราสามดวง รวม 27 ฉบับ ได้แก่
1. พระทำนูน
เป็นการบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ว่าด้วยเขตอำนาจศาลต่าง ๆ ในการพิจารณาคดีแต่ละประเภท ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาตุลาการ เป็นต้น
2. พระธรรมสาตร
กล่าวถึงตำนานการตั้งแผ่นดิน การกำเนินมนุษย์ การกำเนิดรัฐ และเจ้าผู้ครองรัฐ (การพบคัมภีร์ของพระมโนสารฤๅษีโดยเหาะไปที่กำแพงจักรวาล)
3. หลักอินทภาษ
เป็นการวางหลักธรรมในการดำรงตน และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาตุลาการ ต้องพิจารณาตัดสินอรรถคดีด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใด อันเกิดจากอคติ 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาคติ โทษคติ ภยาคติ และโมหคติ เป็นต้น
4. วิวาทด่าตี
เป็นบทบัญญัติถึงการกระทำความผิดทะเลาะวิวาทกัน ด่าทอกัน และทำร้ายร่างกายกัน กำหนดโทษและค่าเสียหายสำหรับการกระทำความผิด บัญญัติถึงผู้ใหญ่ต้องมีเมตตา และผู้น้อยควรให้ความเคารพผู้ใหญ่ การให้อภัยและการรักษาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอันเป็นลักษณะของคนไทย เป็นต้น
5. พระไอยการลักษณรับฟ้อง
กำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีความสามารถและมีอำนาจในการฟ้องคดี เช่น คนสูงอายุหลงไหลแล้ว เด็กอ่อนอายุยังไม่รู้ความ มาฟ้องเรื่องใดผู้เป็นตุลาการต้องไต่สวนก่อนว่า คดีมีมูลหรือไม่ จะรับฟ้องทันทียังมิได้ เป็นต้น
6. พระไอยการกู้นี่
เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินในลักษณะต่าง ๆ 13 ประการ เช่น การกู้ยืมเงินระหว่างผู้มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน เป็นต้น
7. มรดก
เป็นบทบัญัติเกี่ยวกับการจัดการและแบ่งปันทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกผู้ที่เป็นขุนนางมีบรรดาศักดิ์ พ่อค้าและประชาชนธรรมดา ให้แก่ทายาทโดยธรรม เป็นต้น
เพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป ในส่วนฉบับที่ 8 ถึง 27 รอติดตามใบทความต่อ ๆ ไปนะครับ 😀
[ข้อมูล : กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์ตามต้นฉบับหลวง]
โฆษณา