บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.9K
2 นาที
28 กรกฎาคม 2558
ข้อคิด เตือนใจ ก่อนตัดสินใจ ไปคุยกับคนขาย....แฟรนไชส์

วันนี้ มีข้อคิดเตือนใจมาฝาก สำหรับคนที่ตัดสินใจ จะเป็นเถ้าแก่ใหม่ ผ่านการซื้อขายแฟรนไชส์
      
ประการแรก …. พิจารณา อย่างรอบคอบ ถึงธุรกิจนั้นๆ ว่า ต้องการจะทำหรือไม่
      
ประการที่สอง ….. อย่าหลงโฆษณาชวนเชื่อ เพราะมีผู้ขายแฟรนไชส์ บางคน อาศัยตัวเองเป็นพรีเซนเตอร์ ไปถ่ายรูปกับดารา คนดังมาติดที่หน้าร้าน รวมถึงจากการไปลงสื่อ หนังสือพิมพ์ หรือ เวบไซต์ ต่างๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวสินค้า เพราะในความเป็นจริง มีผู้ประกอบการหลายรายลงสื่อไปแล้ว ไม่ประสบความสำเร็จก็มีเยอะ ดังนั้นอย่ามองว่า ลงสื่อ แล้วจะการันตีได้
      
ประการที่สาม … ต้องคุยรายละเอียดของแฟรนไชส์ และข้อตกลง กันให้เรียบร้อยก่อน ก่อนที่จะมีขั้นตอนการให้คำปรึกษา หรือ แนะนำขั้นตอนการทำ เพราะนั่นหมายความถึง เราได้ซื้อแฟรนไชส์เขาแล้ว ซึ่งตรงนี้มีตัวอย่างที่เป็นข้อพิพาทกันมาแล้ว เพราะบางรายถือโอกาสตรงนี้ มาให้คำปรึกษา และสอนขั้นตอนการทำง่าย โดยยังไม่ได้มีข้อตกลงราคาแฟรนไชส์ และบอกว่า นั่นคือการขายแฟรนไชส์แล้ว โดยเราต้องจ่ายเงินไปฟรี ได้เพียงแค่คำแนะนำ ซึ่งบางครั้งเป็นคำแนะนำที่ใครๆ ก็รู้อยู่แล้ว ตรงนี้! คงต้องระวังให้มาก ต้องมีการ คุยราคารายละเอียดตกลงราคาให้เรียบร้อยก่อนที่จะให้เขาแนะนำหรือสอนอะไร......

ประการที่สี่ ….... พิจารณา ถึงอุปกรณ์ และเครื่องใช้ต่างๆ รถเข็น เคาน์เตอร์ และสติกเกอร์ ต่างๆ ถ้าสามารถทำเองได้ แนะนำว่า น่าจะสั่งทำเอง เพราะถ้าเขาสั่งให้ ก็บวกเพิ่มขึ้นไป
      
ประการที่ ห้า ….... ก่อนตัดสินใจใช้แบรนด์ของเขา อยากให้พิจารณาให้ดีก่อน เพราะถ้ามีผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใด รายหนึ่งทำเสียชื่อ ก็เสียกันไปหมดเลย และถ้ามีข้อตกลงเยอะมาก เหมือนกับเป็นการกำจัดสิทธิเสรีภาพของเราเพราะแนวคิดของการทำแฟรนไชส์ คือ การดำเนินธุรกิจ ตามวิธีที่ได้รับการพัฒนาจากแฟรนไชซอร์ การดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่กำหนดไว้เท่านั้นที่จะเป็น เครื่องรับรองความสำเร็จของแฟรนไชซี ดังนั้นแฟรนไชซีจึงไม่มีอิสรภาพเต็มที่ต่อการตัดสินใจ
      
ประการที่หก … … .. ไม่มีหลักประกันความสำเร็จ ถึงแม้จะมีโอกาสสูงในการประสบความสำเร็จ จากการซื้อแฟรนไชส์แต่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีหลักประกันที่แน่นอนในเรื่องนี้ เนื่องจากความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้โดยปกติ
      
นอกจากนี้อาจพบว่าแฟรนไชซีอาจประสบความล้มเหลว ด้วยสาเหตุเงินทุนที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ขาดวิสัยทัศน์หรือทำเลที่ตั้งแหล่งระบายสินค้าไม่เหมาะสม สาเหตุของความล้มเหลวที่แฟรนไชซีไม่สามารถปฏิบัติตามระบบของแฟรนไชซอร์ได้ อย่างไรก็ดีสาเหตุของความล้มเหลวแบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือสาเหตุจากตัวแฟรนไชซีเองและสาเหตุจากระบบแฟรนไชซอร์
      
ในด้านตัวของแฟรนไชซีนั้นโดยทั่วไปก็มักจะพบว่าคุณสมบัติของ แฟรนไชซีที่ถูกเลือกเข้ามาเพื่อประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ มีความสามารถไม่ตรงหรือไม่มากพอ หรืออีกทางหนึ่งอาจได้รับการอบรมจากแฟรนไชซอร์ไม่ดีพอด้วยก็อาจเป็นได้ ซึ่งหากสาเหตุของการล้มเหลวเป็นไปในแนวนี้ทางแก้ก็สามารถแก้ไขได้
 
ประการที่ เจ็ด...ค่าใช้จ่ายสูง แฟรนไชซีจำเป็นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายล่วงหน้า เพื่อการได้มาซื้อสิทธิในการประกอบกิจการ นอกจากนี้แฟรนไชซียังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เงินลงทุนเพื่อตกแต่งร้านค้าและค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเป็นประจำสำหรับ บริการสนับสนุนที่ได้รับจากแฟรนไชซอร์เมื่อรวมค่าใช้จ่ายเหล่านี้เข้าด้วย กัน จะพบว่าคิดเป็นจำนวนเงินที่สูง ดังนั้นเงินจำนวนนี้จะคุ้มค่าต่อการลงทุนก็ต่อเมื่อ แฟรนไชซีได้รับผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน อย่างไรก็ดีนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญาที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายใดๆ

อ้างอิงจาก  ผู้จัดการออนไลน์
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
7 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567
3,797
รวม 10 แฟรนไชส์ขายดี หน้าร้อน เป็นเจ้าของร้านได้..
627
กรมทรัพย์สินฯ ไขกระจ่าง! ข้อควรรู้คุ้มครองสิทธิก..
394
จริงมั้ย? ลงทุนแฟรนไชส์ ไก่ย่าง 5 ดาว ได้ไม่คุ้ม..
391
แฟรนไชส์ธุรกิจยานยนต์ ยอดขายโต ยอดบริการโตกว่า!
380
เจาะใจ! แฟรนไชส์ซี “คาเฟ่ อเมซอน” พร้อมเทคนิคสมั..
379
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด