8 ต.ค. 2019 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา ทำงานเหมือนไปเที่ยวเหมือน เจ้าสัวธนินท์
1
“แจ็กหม่า เขามองเห็นภูเขาเป็นทองคำ”
“แต่ตอนนั้นผมเห็นภูเขามีแต่ต้นไม้”
1
“เพราะ Alibaba ณ เวลานั้นมันไม่มีตัวตน ผมมองไม่เห็น
ผมทำแต่ร้านค้าปลีกที่มีหน้าร้านและเห็นของจริง”
3
คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
เล่าให้ฟังถึงเหตุผลที่ปฏิเสธการร่วมลงทุนกับ แจ็กหม่า เพื่อก่อตั้ง Alibaba
ผ่านเวทีเปิดตัวหนังสือ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
3
แต่เชื่อหรือไม่ว่า ครั้งหนึ่งเจ้าของแบรนด์ 7-Eleven เองก็เคยมองข้ามความคิดของเจ้าสัวธนินท์ เช่นกัน
ด้วยการปฏิเสธที่จะไม่ขายสิทธิแฟรนไชส์ให้ ด้วยเหตุผลที่ว่า ณ เวลานั้น
ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2531 ที่ 7-Eleven จะเปิดสาขาแรกในเมืองไทย
เจ้าของแฟรนไชส์ 7-Eleven ประเมินว่าประชากรในประเทศไทยมีกำลังซื้อน้อยนิด
เพราะหากเทียบลูกค้าในอเมริกา 1 คนจะมียอดซื้อ 1 บิลเท่ากับคนไทย 15 คน รวมกัน
3
“แต่เขาก็ลืมคิดไปว่าต้นทุนเราก็ถูกกว่าเขาเป็น 10 เท่า
ทั้งต้นทุนสร้างสาขา พนักงาน และ ต้นทุนสินค้า”
2
ซึ่งตอนที่เจ้าสัวธนินท์ คิดจะเปิดร้าน 7-Eleven ก็มีหลายเสียงคัดค้านว่าเป็นการลงทุนที่ไม่ชาญฉลาด
“ก็เพราะคนฉลาด เขาชอบอะไรที่ทำสำเร็จง่ายๆ
แต่ผมรู้ว่าธุรกิจร้าน 7-Eleven มันยากมาก แต่ถ้าทำสำเร็จจะเป็นธุรกิจที่มีอนาคตที่ยั่งยืน”
5
และก็เป็นอย่างที่เจ้าสัวธนินท์คิดจริงๆ เพราะจากรายได้ 7-Eleven ปีแรกที่มีเพียงน้อยนิด
แต่ผ่านไป 30 ปี 7-Eleven มีรายได้ 335,532 ล้านบาท
และมี 10,988 สาขา มีจำนวนลูกค้า 13 ล้านคนต่อวัน
6
คุณธนินท์ ยังเล่าต่อว่า CP ไม่ใช่คนผูกขาดธุรกิจ
แต่เป็นผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ หลายอย่าง และก็ทำอย่างจริงจัง และรวดเร็ว
7
เหตุผลเพราะหากใครมาทีหลัง แล้วมาทำธุรกิจแบบเดียวกันกับ CP จะทิ้งห่างไปไกลมาก
ซึ่งมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะไล่ตามทัน ไม่ต่างกับการเป็นนักมวยคนเดียวบนเวที
“เพราะหากเราขึ้นเวที แล้วหกล้มลงไปกับพื้น กรรมการนับ 10
ลุกขึ้นมา เราก็ยังเป็นแชมป์อยู่ดี เพราะมีเราคนเดียวที่ขึ้นเวทีมวยทัน”
8
ขณะเดียวกัน ทุกธุรกิจของ CP จะสามารถเชื่อมต่อกันได้ ยกตัวอย่างเช่น
สารพัดสินค้าอาหารของ CP เองก็ถูกต่อยอดเข้าไปขายอยู่ในร้าน 7-Eleven
ขณะเดียวกันทุกการลงทุนของเจ้าสัวธนินท์ นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทย
จึงไม่แปลกที่หากเรามองธุรกิจในเครือ CP ณ เวลานี้ช่างมีมากมายเสียเหลือเกิน
เช่น เกษตรและอาหาร, ค้าปลีก, สื่อสารโทรคมนาคม, อีคอมเมิร์ซ, อสังหาริมทรัพย์, รถยนต์
ซึ่งในแต่ละธุรกิจนั้น CP จะต้องลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาล แต่ทุกการลงทุนก็ย่อมมีความเสี่ยง
6
ทีนี้แล้วกฎเกณฑ์การชั่งน้ำหนักการลงทุนในธุรกิจแต่ละครั้งของเจ้าสัวธนินท์ ใช้ตาชั่งแบบไหน ?
“หากเสี่ยง 30 มีโอกาสชนะ 70 จะตัดสินใจลงมือทำ
แต่หากเป็นการลงทุนที่ใหญ่เกินตัวจนอาจทำให้เราล้มละลาย
ถึงโอกาสชนะเปิดกว้างมาก ผมก็จะไม่ทำ”
8
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จอาณาจักร CP ณ วันนี้ไม่ว่าจะเป็นทั้งในและต่างประเทศ
คุณธนินท์เองก็บอกว่า ตัวเขาคนเดียวไม่มีทางที่สร้างขึ้นมาได้
แต่ต้องอาศัยพนักงานกว่า 3 แสนคน
แล้วเคยสงสัยบางไหม เจ้าสัวธนินท์ ที่มีอายุ 80 ปี มีทรัพย์สิน 15,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 463,000 ล้านบาท ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะวางมือจากธุรกิจ
4
“ถ้าผมไปเที่ยว 10 ปี ก็ผ่านไปหมดประโยชน์ แต่หากเราคิดว่าการทำงานเหมือนไปเที่ยว
ได้เจอความท้าทายใหม่ๆ ตลอดเวลา ก็ถือว่ามีความสุข”
3
มาถึงตรงนี้ อาจดูเหมือนเจ้าสัวธนินท์ ที่มีทรัพย์สินมหาศาล
น่าจะไขว่คว้าสิ่งที่ตัวเองอยากได้ และอยากทำมาหมดแล้ว
แต่จริงๆ ยังมีความฝันในวัยเด็กอยู่อย่างหนึ่ง ที่ยังไม่เคยทำได้สักที
4
ความฝันดังกล่าวคือ เจ้าสัวธนินท์ อยากจะเป็นผู้กำกับภาพยนตร์
4
ใครจะไปคิดวันหนึ่งเราอาจเห็นนักธุรกิจอายุ 80 ปี
ที่มีทรัพย์สินเกือบ 5 แสนล้านบาท สวมบทบาทเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ก็เป็นได้
2
Reference : Exclusive Talk "ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” Matichon TV, รายงานประจำปี CP ALL, Forbes Thailand
โฆษณา