การปลูกถ่ายไต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของผู้ป่วยโรคไต

ศูนย์ : ศูนย์อายุรกรรม, แผนกไตเทียม

บทความโดย :

การปลูกถ่ายไต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของผู้ป่วยโรคไต

การปลูกถ่ายไต ถือว่าเป็นการรักษาโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายและเป็นวิธีการบำบัดทดแทนไตที่ดีที่สุด ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากการผ่าตัดมีอัตราการประสบความสำเร็จสูง ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย เดินทางท่องเที่ยว มีครอบครัวได้เช่นเดียวกับผู้ที่มีสุขภาพดีทั่วไป และด้วยความร่วมมือระหว่างแผนกไตเทียม ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนครธน กับ “บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก” โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยทีมแพทย์ผ่าตัดที่มีความเชี่ยวชาญพร้อมให้บริการทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด และพร้อมจะผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้ผู้ป่วยหลังจากไตบริจาคมาถึงโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือดหรือล้างไตตลอดชีวิต


การปลูกถ่ายไต คืออะไร

การปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation) คือ การรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยการใช้ไตจากผู้อื่น ซึ่งผ่านการตรวจแล้วว่าเข้ากันได้ ให้มาทำหน้าที่แทนไตเก่าของผู้ป่วยที่สูญเสียไปอย่างถาวรแล้ว ปัจจุบันถือว่าเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรังทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากถ้าไตใหม่ทำหน้าที่ได้ดีแล้ว สามารถทดแทนไตเติมได้สมบูรณ์คุณภาพชีวิตจะดีขึ้น

โดย 3 เหตุผลหลักที่ควรปลูกถ่ายไต ได้แก่

  1. เพื่อรักษาโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
  2. ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลกับการฟอกไต
  3. ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วิธีการปลูกถ่ายไตเป็นอย่างไร

วิธีการปลูกถ่ายไต ทำได้ด้วยการนำไตของผู้อื่นที่เข้ากับผู้ป่วยได้มาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย ไม่ใช่การเปลี่ยนเอาไตผู้ป่วยออกแล้วเอาไตผู้อื่นใส่เข้าแทนที่ การผ่าตัดทำโดยการวางไตใหม่ไว้ในอุ้งเชิงกรานข้างใดข้างหนึ่งของผู้ป่วย แล้วต่อหลอดเลือดของไตใหม่เข้ากับหลอดเลือดของผู้ป่วย และต่อท่อไตใหม่เข้าในกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย การปลูกถ่ายไตนี้ใช้ได้เพียงข้างเดียวก็พอ โดยไตที่นำมาใช้ปลูกถ่ายได้มาจาก 2 แหล่งคือ จากคนบริจาคที่ยังมีชีวิต (Living Donor) หรือจากผู้บริจาคที่เสียชีวิต (Deceased Donor) ผ่านการรับบริจาคโดยศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย


ขั้นตอนการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

การผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญและมีความซับซ้อนอย่างมาก จำเป็นที่ทีมผ่าตัดจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์สูงในการผ่าตัดซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. เตรียมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ด้วยการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อประเมินความพร้อม และเตรียมร่างกายสำหรับการผ่าตัด เช่น เตรียมป้องกันการติดเชื้อด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ และยากดภูมิคุ้มกัน
  2. แพทย์จะนำไตที่ได้รับบริจาคมาวางในบริเวณท้องน้อยของผู้ป่วยในตำแหน่งที่ตรวจคลำได้ง่าย โดยไม่ต้องผ่าตัดเอาไตที่เสื่อมออก ดังนั้น หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีไตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งอัน
  3. จะทำการเชื่อมต่อหลอดเลือดของไตใหม่เข้ากับหลอดเลือดของผู้ป่วย และต่อท่อไตของไตใหม่เข้ากับกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย หากไม่มีจุดเลือดออกหรือรั่วซึมของปัสสาวะ แพทย์จะทำการปิดแผลผ่าตัด โดยขั้นตอนการผ่าตัดปลูกถ่ายไตทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยจะต้องคาสายระบายเลือดและสายสวนปัสสาวะไว้ก่อนและจะถอดออกภายใน 5-7 วันหลังการผ่าตัด
  4. หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องอยู่ในห้อง CCU ประมาณ 1-3 วัน จากนั้นจึงจะย้ายไปพักในห้องผู้ป่วยอีกประมาณ 7-10 วัน โดยเฉลี่ยแล้วจะต้องอยู่โรงพยาบาลประมาณ 2 สัปดาห์

ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายไตต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันหลังผ่าตัดต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อป้องกันภาวะสลัดไต (transplant rejection) ดังนั้นวิธีนี้เหมาะสมกับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคหัวใจรุนแรงและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ


รูปแบบใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย

สำหรับผู้ป่วยที่ทำการฟอกไต “การผ่าตัดปลูกถ่ายไต” เป็นการบำบัดทดแทนไตที่ดี เพื่อรักษาโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลกับการฟอกไต สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยแผนกไตเทียม ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนครธน ร่วมมือกับ “บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก” โดยทีมผ่าตัดปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ทีมแพทย์ผ่าตัดที่มีความพร้อมในการเดินทางไปผ่าตัดไตที่บริจาคจากสถานที่ต่างๆ นอกโรงพยาบาล และพร้อมจะผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้ผู้ป่วยหลังจากไตบริจาคมาถึงโรงพยาบาล

นอกจากนี้ โรงพยาบาลนครธน ยังมีทีมแพทย์ พร้อมแพทย์สาขาอื่นๆ โดยทำงานร่วมกันเป็นทีมสหวิชาชีพ (Multidisciplinary Team) ในการดูแลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดปลูกถ่ายไต เช่น ทีมพยาบาลประสานงานโรคไต ทีมพยาบาลที่ให้คำปรึกษาผู้ป่วย และการดูแลภาวะหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต เช่น การติดเชื้อ การต่อต้านเนื้อเยื่อหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจ, สมอง, ภาวะแทรกซ้อนด้านทางเดินหายใจ, ด้านทางเดินอาหาร ฯลฯ ที่สามารถดูแลผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคล โดยทีมทีมแพทย์พยาบาลมากด้วยประสบการณ์ โดยเฉพาะการผ่าตัดที่ซับซ้อน และสำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ลงทะเบียน กับสภากาชาด สามารถเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายกับแผนกไตเทียม โรงพยาบาลนครธนได้โดยไม่หลุดคิว

การปลูกถ่ายไตสามารถทำได้ทันทีที่ผู้บริจาคพร้อม และทำได้ตั้งแต่ที่ผู้ป่วยยังไม่โดนฟอกเลือดหรือล้างไต ถ้าอยากปลูกถ่ายไตใหม่ สามารถเข้ามารับคำปรึกษาจากแพทย์แผนกไตเทียม ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนครธน เพื่อขอข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามการมีไตใหม่ จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย




Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย