Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

4 โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คุณเสี่ยงแค่ไหน?

4 โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คุณเสี่ยงแค่ไหน? ...

14 สิงหาคม 2563

5 นาที

เมื่อพูดถึงโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้น เชื่อว่ายังมีหลายคนที่ยังสงสัยว่า หากครอบครัวมีประวัติป่วยโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเหล่านี้ ลูกๆ หลานๆ รวมถึงตัวเราเองจะมีความเสี่ยงแค่ไหน? แม้จะซื้อประกันชีวิตและสุขภาพ ไว้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงแล้วก็ตาม เมืองไทยประกันชีวิตมีข้อมูลมาแบ่งปันเช่นเคย

       โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมโรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง


มะเร็งเป็นโรคมีความซับซ้อน และมีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคได้ โดย 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ที่ป่วยโรคมะเร็งที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และอีก 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากพันธุกรรม เช่น มะเร็งเต้านม และ มะเร็งรังไข่ ดังนั้น แม้ว่าเราจะดูแลตัวเองดีแค่ไหนก็อาจป่วยเป็นมะเร็งได้อยู่ดีหากครอบครัวมีประวัติ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาก้าวไกลไปมาก สามารถตรวจเช็กสุขภาพได้ตลอดเพื่อให้เราสามารถรับมือได้ทันท่วงที

ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท 2


 โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน


โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมในการกินอาหาร เช่น กินอาหารที่มีแป้งและไขมันมาก หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลปริมาณมาก และยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย และหากเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แถมยังพ่วงมาด้วยโรคแทรกซ้อนที่ทำให้สุขภาพทรุดเพิ่มได้ง่ายๆ หากป่วยเรื้อรังมานานหลายปี ซึ่งโรคเบาหวานจะแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ในที่นี้ชนิดที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้คือโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีโอกาสเกิดมากกว่า โดยมีความเสี่ยงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ประมาณ 95 % ของผู้ที่ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้ออินซูลินร่วมกับการที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอ

ที่มา : โรงพยาบาลวิภาวดี, www.honestdocs.co


โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโรคหัวใจ

โรคหัวใจ


โรคหัวใจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคเบาหวาน มีความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด เครียด รวมไปถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งจากสถิติพบว่า 1 ใน 200 คนที่เป็นโรคหัวใจมีสาเหตุจากพันธุกรรม โดยผลวิจัยระบุว่า ผู้ที่มีพี่น้องเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจก่อนวัยอันควร จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่าขึ้นไป ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายหากครอบครัวมีประวัติป่วยโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์และหมั่นเช็กสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงของโรค เพราะเมื่อได้รับการดูแลที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะช่วยป้องกันอาการรุนแรงของโรคได้


ที่มา : www.bnhhospital.com


โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์


โรคสุดท้ายคือโรคสมองเสื่อม หลายคนอาจเรียกว่าโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับคนที่อายุมากและคนที่อายุยังน้อยได้เหมือนกัน อาจแตกต่างกันตรงที่สาเหตุ เพราะผู้สูงอายุจะเป็นอัลไซเมอร์ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพหรือมีส่วนเสียหายของสมอง แต่อัลไซเมอร์ในวัยรุ่นหรือวัยกลางคนจะเกิดจากพันธุกรรมเป็นหลัก ซึ่งคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้นจะมีพ่อแม่ที่เป็น “โรคอัลไซเมอร์ ชนิดเกิดก่อนวัย” ที่มีค่าความเสี่ยงถึงร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าสูงมาก และเพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าเรามีความเสี่ยงโรคนี้หรือไม่ ควรตรวจเช็กสุขภาพตัวเองและของครอบครัวตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคร้าย

ที่มา : amprohealth.com


สำหรับคนที่ครอบครัวมีประวัติสุขภาพป่วยเป็นโรคร้าย ทำให้ไม่มั่นใจว่าจะได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือไม่ การซื้อประกันชีวิตและสุขภาพก็เป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงได้ ซึ่งหากจะตัดสินใจซื้อประกันชีวิตและสุขภาพก็ต้องดูเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันให้ชัดเจน ว่าคุ้มครองโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโรคใดบ้าง ทั้งนี้ เมืองไทยประกันชีวิต ได้ออกแบบสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบอีลิท เฮลท์ ที่ครอบคลุมทั้งการรักษาโรคร้ายแรง โรคทั่วไป และโรคระบาดตามฤดูกาล ให้คุณคลายกังวลทุกความเสี่ยงของเรื่องสุขภาพ

หมายเหตุ


  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ใหม่เท่านั้น
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯเบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว